วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2560

คุณเชื่อหรือไม่ วัดร้างไม่ได้มีอยู่แต่ในเขตทุรกันดารหรือเขตชนบทเท่านั้น


คุณเชื่อหรือไม่ วัดร้างไม่ได้มีอยู่แต่ในเขตทุรกันดารหรือเขตชนบทเท่านั้น

               เมื่อพูดถึงวัดร้างแล้วหลายๆคนอาจจะคิดถึงวัดที่อยู่ในชนบทหรืออยู่ในป่าเขาหรือเขตทุรกันดารที่อยู่ห่างไกลจากผู้คน การเดินทางก็ยากลำบากเข้าถึงได้ยาก



             แต่ทุกคนลืมมองไปว่ายังมีวัดอีกไม่น้อยที่อยู่ในเขตชุมชน หรือในเขตกรุงเทพมหานคร ที่กลายเป็นวัดร้างทั้งๆที่ความจริงแล้ว วัดเหล่านี้เมื่อไปค้นประวัติดูแล้วล้วนแต่เป็นวัดที่ใหญ่และมีชื่อเสียง เป็นศูนย์กลางของชุมชนมาก่อน และถือว่าเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากในยุคสมัยก่อนเลยทีเดียว บางวัดก็มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ต้นสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น วัดสวนสวรรค์ บางยี่ขัน,วัดสุวรรณคีรีหรือวัดขี้เหล็ก,วัดรังษีสุทธาวาส,วัดบวรสถานสุทธาวาส,วัดใหม่วิเชียร,วัดพระยาไกรหรือวัดโชตนาราม เป็นต้น ยังมีอีกหลายวัดที่ไม่ได้กล่าวถึงที่เคยที่ชื่อเสียงแต่ปัจจุบันกับกลายเป็นวัดร้างที่ถูกทุกคนลืม จะขอยกตัวอย่างวัดร้างที่เคยรุ่งเรืองมาก่อนสักหนึ่งวัดก็แล้วกันนะครับ คือ


วัดพระยาไกร หรือ วัดโชตนาราม ในอดีตตั้งอยู่ในย่านแขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ก่อนมาเป็นที่ตั้งของท่าเรือและบริษัท อีสต์เอเชียติก บริษัทเดินเรือสัญชาติเดนมาร์กในสมัยรัชกาลที่ 5 และปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์

วัดพระยาไกร เป็นชื่อดั้งเดิมของวัดโชตนาราม มีหลักฐานว่าสร้างก่อน พ.ศ. 2344 จนกระทั่งมีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (บุญมา) เจ้ากรมท่าซ้าย เป็นหัวหน้าคนจีน ควบคุมคนจีนในไทยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทำการ บูรณะปฏิสังขรณ์เสร็จแล้วได้น้อมถวายเป็นพระอารามหลวงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็นพระอารามหลวงมีนามว่าวัดโชตนาราม ตามหลักฐานจดหมายเหตุ ต่อมา "วัดพระยาไกร" กลายสภาพเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะท่านเจ้าสัวบุญมาคงไม่มีทายาทสืบสายสกุลทำให้ขาดผู้ดูแลอุปถัมภ์วัด หลักฐานที่ปรากฏว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดนี้ก็ไม่มีเจ้าอาวาสปกครองแล้ว เสนาสนะสงฆ์ปรักหักพังชำรุดทรุดโทรมยากแก่การบูรณะรวมไปถึงพระอุโบสถอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น (พระสุโขทัยไตรมิตร ก่อนย้านไปวัดไตรมิตรวิทยาราม และหลวงพ่อสัมฤทธิ์ ก่อนย้ายไปวัดไผ่เงิน) ก็ชำรุดทรุดโทรมลงตามลำดับ บริเวณภายในวัดก็กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่าเนื่องจากไม่มีผู้ดูแลรักษา จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ในเวลานั้นเองทางบริษัท อีสท์ เอเชียติก จำกัด แห่งประเทศเดนมาร์ก ซึ่งทำธุรกิจค้าไม้สักส่งออกยังต่างประเทศมองเห็นเป็นทำเลที่ดีสำหรับตั้งโรงเลื่อยจักรของบริษัทฯ (โรงเลื่อยจักรที่ใหญ่ที่สุดในสยามในช่วงเวลานั้น) จึงได้แสดงความประสงค์ ขอเช่าพื้นที่วัดโชตนาราม จากทางราชการ เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ทางบริษัทฯ ก็ได้ทำการรื้อถอนเสนาสนะสงฆ์ที่ปรักหักพังเสียคงเหลือไว้แต่เพียงพระอุโบสถ อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น 2 องค์ ไว้ภายในเท่านั้น พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (พระพุทธรูปทองคำ) ก่อนที่จะอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม รวมทั้งพระประธานในอุโบสถวัดไผ่เงินโชตนาราม ที่หล่อด้วยโลหะสำริด สมัยอาณาจักรสุโขทัย]


  ความสำคัญของวัดพระยาไกรหรือวัดโชตนารามนี้คือ ในครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นวัดที่ได้รับการอุปถัมภ์ มีหลักฐานตามที่ปรากฏในจดหมายเหตุ สมัยรัชกาลที่ 3 จ.ศ.1213 [2] บันทึกไว้ว่าวัดได้รับการ "ยกให้เป็นพระอารามหลวง" นอกจากนี้ยังพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ได้รับกิจนิมนต์ไปแสดงธรรมและฉันภัตตาหารในพระราชวังตลอดรัชกาล


   วัดโชตนาราม หรือที่ติดปากชาวบ้านว่า "วัดพระยาไกร" ก็มีสภาพกลายเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะท่านเจ๊สัวบุญมาคงไม่มีทายาทสืบสายสกุลทำให้ขาดผู้ดูแลอุปถัมภ์วัด บริเวณภายในวัดก็กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า หลักฐานที่ปรากฏว่าในสมัยพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 วัดนี้ก็ไม่มีเจ้าอาวาสปกครองแล้ว เสนาสนะสงฆ์ปรักหักพังชำรุดทรุดโทรมยากแก่การบูรณะรวมไปถึงพระอุโบสถอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น (พระสุโขทัยไตรมิตร ก่อนย้ายไปวัดไตรมิตรวิทยาราม และหลวงพ่อสัมฤทธิ์ ก่อนย้ายไปวัดไผ่เงิน) ก็ชำรุดทรุดโทรมลง ตามลำดับ บริเวณภายในวัดก็กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่าเนื่องจากไม่มีผู้ดูแลรักษา

  ภาพถ่ายเก่าที่เห็นอาคารอุโบสถและวิหารของวัดพระยาไกร(ตรงลูกศรชี้)ตั้งอยู่ตรงท่าเรือและโรงเลื่อยอีสต์เอเชียติก


ปัญหาวัดร้างไม่ได้เกิดขึ้นแต่ในปัจจุบันเพียงอย่างเดียว แต่กับเกิดขึ้นมาหลายยุคหลายสมัยแล้วก็ว่าได้ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน นับวันปัญหาวัดร้างก็เริ่มที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เหตุผลเพราะว่าเรายังขาดบุคคลที่จะมาสายต่ออายุพระศาสนาและขาดผู้ที่จะเข้ามาช่วยกันดูแลรักษาวัดให้เป็นวัดและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองกันอย่างจริงจัง ทำให้วัดต่างๆเหล่านี้ไม่สามารถที่จะอยู่ต่อไปได้

เราต้องมาตั้งคำถามกันแล้วละครับว่าปัจจัยใดที่ทำให้วัดที่มีจำนวนไม่น้อยเลยในอดีตคือมีแทบจะทุกหัวระแหงในที่ที่มีผู้คนอยู่อาศัยหรือแม้แต่ในป่าเขาที่ทุรกันดารก็ยังมีวัดมีพระอาศัยอยู่จำนวนไม่น้อย แต่ปัจจุบันกับกลายมาเป็นวัดที่รกร้างว่างเปล่าปราศจากพระหรือพุทธบริษัทที่จะมาคอยดูแลรักษา บางวัดก็แทบจะไม่มีร่องรอยให้เห็นเลยว่าสถานที่แห่งนี้เคยเป็นวัดมาก่อน บางวัดพื้นที่ของวัดก็ถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านหรือกลายเป็นของเอกชนไปเลยก็มี ยิ่งวัดที่อยู่ในเขตชุมชนด้วยแล้วถ้าขาดการเอาใจใส่ดูแลรักษาของพุทธบริษัทแล้ววัดนั้นก็จะค่อยๆเสื่อมถอยลงและถูกชุมชนกลืนเข้าไปจนแทบจะไม่เหลืออะไรให้เห็นถึงความเป็นวัดนั้นเลย


ดังนั้นมันถึงเวลาแล้วที่พวกเราชาวพุทธจะต้องช่วยกันดูแล รักษาและปกป้องวัดวาอารามหรือพระพุทธศาสนาของเราให้อยู่คู่บ้านเมืองของเราให้ชนรุ่นหลังได้เข้ามาศึกษาและสานต่อวัฒนธรรมอันดีงามของชาวพุทธในการช่วยกันดูแล ปกป้องพระพุทธศาสนาต่อจากพวกเราสืบต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน

พระพุทธศาสนาจะอยู่ได้ก็ต้องอาศัยพุทธบริษัททั้ง4ช่วยกันทำนุบำรุงและรักษา ถ้าเมื่อไรพระพุทธศาสนาขาดพุทธบริษัท4 หรือพุทธบริษัท4ไม่เข้มแข็งพอไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน วัดต่างๆเหล่านี้ก็อาจที่จะกลายเป็นวัดร้างไปในที่สุด

นอกจากที่จะช่วยกันดูแลรักษาวัดที่อยู่ห่างไกลแล้ว ก็อย่าลืมหันมาดูแลวัดที่อยู่ใกล้ตัวของเราด้วยนะครับ เพราะถ้าทุกคนต่างก็ไปสนใจแต่วัดที่อยู่ห่างไกล ปล่อยให้วัดที่อยู่ใกล้ตัวกลายเป็นวัดร้างไม่มีใครเหลียวแลแล้ว จะมีอะไรมาการันตีได้ว่าเราจะสามารถตัวแลวัดเหล่านั้นได้ แม้ว่าวัดที่อยู่ใกล้ๆตัวเรา เรายังไม่สามารถดูแลได้เลย

ดังนั้นเราชาวพุทธทุกคนควรให้ความสำคัญกับวัดในทุกๆที่มากขึ้น แม้วัดที่อยู่ใกล้ตัวเราก็ไม่ควรมองผ่าน เพื่อให้พระและวัดนั้นสามารถยืนหยัดอยู่ต่อไปได้ อย่าปล่อยให้วัดรุ่งกลายเป็นวัดร้างอีกต่อไปเลยนะครับ เพราะนั่นถือว่าความรับผิดชอบต่อพระพุทธศาสนาของเราชาวพุทธนั้นลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ และอย่าปล่อยให้ความเป็นชาวพุทธของเราอยู่ในกระดาษเท่านั้น เราต้องทำหน้าที่ชาวพุทธของเราให้เต็มที่ให้สมกับการที่เราได้เกิดมาเป็นชาวพุทธอย่างแท้จริง

 ถ้าเราขาวพุทธช่วยกันคนละไม้คนละมือในการดูแลรักษาและปกป้องพระพุทธศาสนา รับรองได้เลยว่า คำว่าวัดร้างจะไม่มีให้เห็นกันแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นวัดที่อยู่ในชุมชนเมืองหรืออยู่ในชนบทหรือวัดป่าที่อยู่ห่างไกลจากผู้คนก็ตาม

ถึงเวลาแล้วที่พวกเราจะหันมาให้ความสำคัญกับพระพุทธศาสนาของเราอย่างจริงจังกันเสียที


https://mamoketio.blogspot.com/2017/08/5.html

ขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย,หนังสือวัดร้างในบางกอก


9 ความคิดเห็น:



  1. พระสงฆ์ท่านมาช่วยประชาชนที่น้ำท่วมนั้นเป็นสิ่งที่ดี เมื่อถึงเวลาที่ประชาชนไม่เดือดร้อนและเข้าสู่สภาวะปรกติ ประชาชนก็มาบำรุงวัดอย่าทิ้งวัดกันนะคะ บ้านของใครอยู่ใกล้วัดไหนก็ดูแลเอาใจใส่วัดนั้นให้เต็มที่เต็มกำลังไม่เกี่ยงงอนกันนะคะเราต้องรวมใจกัน ถ้าเกี่ยงงอนกัน จงนึกถึงอดีตวัดพระยาไกรหรือวัดโชตนาราม กันนะคะ ยุคของเราหรือยุคไหนๆก็อย่าให้เกิดอีก
    #น้ำท่วม
    #พระสงฆ์ช่วยน้ำท่วม
    #คนไทยไม่ทิ้งกัน
    #ธรรมกาย

    ตอบลบ
  2. เศร้าใจจังเลย เราชาวพุทธบริษัท ๔ ช่วยกันนะคะ ช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่าให้มีวัดร้างเกิดขึ้นอีกเลยนะคะ

    ตอบลบ
  3. พุทธบริษัทต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน

    อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้ยามยาก ยามมีภัย ยามมีปัญหาอุปสรรคมากมาย แต่พระในพระพุทธศาสนาไม่เคยทิ้งท่าน
    และอดีตจนถึงปัจจุบัน คณะสงฆ์เกิดปัญหาอุปสรรคอันตรายจากผู้ไม่หวังดีมากมาย บางวัดจึงรกร้างไป... พวกท่านพากันไปไหนหนอ ?

    แม้ไม่อยากเรียกร้อง แต่ก็ต้องตอกย้ำให้รู้หน้าที่ของผู้ปกครองรัฐและพุทธศาสนิกชนว่า "หน้าที่หนึ่งของท่าน(คฤหัสถ์)ผู้ประกอบด้วยธรรม ต้องคอยบำรุงพระสงฆ์ด้วยปัจจัยสี่แล้วยังต้องให้ความคุ้มครองปกป้องโดยธรรมสม่ำเสมอ ไม่อย่างนั้นก็ได้ชื่อว่ากินบนเรือน คือกินภาษีชาวพุทธฟรี แถมขี้รดหลังคาคือ นำทุกข์นำโทษภัยมาให้อีกด้วย"

    ตอบลบ
  4. ชาวพุทธ ต้องช่วยกันรักษาวัด และปกป้องพระพุทธศาสนา

    ตอบลบ
  5. เห็นด้วยเราชาวพุทธ ต้องช่วยกันรักษาวัด และปกป้องพระพุทธศาสนา

    ตอบลบ
  6. มาช่วยกันค่ะ พระพุทธศาสนาจะได้รุ่งเรืองเหมือนสมัยโบราณกาล

    ตอบลบ
  7. เราชาวพุทธต้องช่วยกัน รักษาพระพุทธศาสนาให้มั่นคงครับ

    ตอบลบ
  8. หลักบวร บ้าน วัด โรงเรียน ต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกันตลอดไป

    ตอบลบ