เหตุใดพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียจึงล่มสลายทั้งๆที่เป็นดินแดนแห่งต้นกำเนิดของศาสนาพุทธ
หลายๆคนคงเคยเรียนประวัติของพระพุทธศาสนากันมาไม่มากก็น้อย
คงจะพอรู้และพอเข้าใจว่าพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้อย่างไร
ใครเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ทั้งๆที่ประเทศอินเดียแต่เดิม
ก็มีความหลากหลายในด้าน ศาสนา ความเชื่อ และลัทธิต่างๆ อยู่มากมาย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี |
พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในประเทศอินเดีย เกิดจากพระมหาบุรุษ
ซึ่งมีชื่อว่า “เจ้าชายสิทธัตถะ”เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางมหาสิริมายา
กษัตริย์ผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์แห่งแคว้นสักกะ พระองค์ทรงมองเห็นเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์และการเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสารของมนุษย์
โดยเห็นนิมิตเป็นเทวทูตทั้ง 4 คือเห็น คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ
ทำให้พระองค์เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตและอยากแสวงหาทางหลุดพ้น
จึงได้ออกจากพระราชวงศ์มาค้นหาสิ่งที่จะทำให้ตนหลุดพ้นได้ และต่อมาในภายหลังพระองค์ก็ค้นพบทางหลุดพ้นและได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อพระองค์หลุดพ้น ก็ทรงมีความปรารถนาที่อยากจะให้ผู้อื่นหลุดพ้นด้วย อยากให้ผู้อื่นได้รู้ได้เห็นในสิ่งที่พระองค์ได้รู้ได้เห็นด้วย
และคนกลุ่มแรกที่พระองค์ได้ถ่ายทอดให้ก็คือปัญจวัคคีย์ทั้ง5
จากจุดๆนี้ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา
คงมีคนสงสัยกันอยู่ละว่าพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองมากและมีการแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์ของประเทศอินเดีย
มีวัดต่างๆเกิดขึ้นมากมาย พระพุทธองค์ไปที่ไหนก็มีสาวกเกิดขึ้นที่นั่น และมีผู้ประกาศตัวเป็นพุทธมามกะ
คอยให้ความอุปถัมภ์ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
กันมากมาย ไม่เว้นแม้แต่องค์พระมหากษัตริย์เอง
แล้วทำไมพระพุทธศาสนาจึงได้ล่มสลายลงได้
ก่อนที่เราจะไปดูการล่มสลายของพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียนั้น
เรามาดูความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนากันก่อนว่าพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองได้อย่างไร
อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทสำคัญในประเทศอินเดีย
สถานที่สำคัญต่างๆที่เป็นเริ่มต้นของการเผยแผ่และเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า |
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนาได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อคนในสังคมอินเดีย
ก็คือความแตกต่างในด้านหลักธรรมคำสอน เช่น
- ลัทธิศาสนาอื่นสอนให้ยึดติดในคน สัตว์
สิ่งของ แต่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงสอนให้รู้จักการปล่อยวาง
- ลัทธิศาสนาอื่นสอนในเรื่องการบูชายัญ เพื่อให้เทพเจ้าคุ้มครองพวกตน
แต่ พระองค์สอนให้เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม เรื่องบุญและบาป
- ลัทธิศาสนาอื่นสอนให้ยึดติดกับระบบชนชั้นวรรณะต่างๆ แต่พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับทุกชนชั้นวรรณะโดยไม่แบ่งแยกชนชั้นวรรณะ ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน
ที่สำคัญหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์สามารถพิสูจน์และสามารถเข้าถึงได้จริง
ทำให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาเกิดความเลื่อมใสศรัทธาและหันมานับถือพระพุทธศาสนากันมากขึ้นเรื่อยๆ
ทำให้พระพุทธศาสนาในสมัยนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองมาก
นอกจากนี้ยังมีกษัตริย์อีกหลายพระองค์ได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาและได้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ(ผู้ประกาศตนว่าขอถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ
หรือผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา)จำนวนไม่น้อยกัน
เช่น พระเจ้าพิมพิสาร แห่งแคว้นมคธ พระเจ้าปเสนทิโกศล
พระราชาแห่งแคว้นโกศล พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นต้น กษัตริย์เหล่านี้ทรงให้ความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาและทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
ด้วยการทำนุบำรุงพระภิกษุสงฆ์โดยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน
และได้สร้างวัดวาอารามต่าง ๆ ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์มากมาย
และได้นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปปกครองประเทศทำให้ประเทศชาติสงบสุข พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายไปในชมพูทวีปอย่างรวดเร็ว
กษัตริย์ผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและแสดงตนเป็นพุทธมามกะ |
ถึงแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ได้ประกาศตนว่าเป็นพุทธมามกะและเป็นผู้ปกครองประเทศอินเดียในสมัยนั้น พระองค์ได้ทรงให้ความอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่
โดยทรงจัดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๖ ณ วัดอโศการาม
นครปาฏลีบุตร แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือ เมืองปัตนะ เมืองหลวงของรัฐพิหาร)
ทรงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน
หลังจากสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยเสร็จสิ้นแล้ว พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ
ได้จัดคณะพระธรรมทูตออกเป็น ๙ คณะแล้วส่งไปประกาศพระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ โดยสายที่ 8 พระโสณะและพระอุตระเถระได้เดินทางไปยังสุวรรณภูมิประเทศหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน
(ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนามและอินโดนีเซีย)
ทำให้ประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางศาสนาพุทธจากอินเดียตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา
พระปฐมเจดีย์คือเจดีย์แห่งแรกในประเทศไทย สร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรทวาราวดี |
สมัยราชวงค์คุปตะ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสูงสุดซึ่งถือว่าเป็น #ยุคทองของพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้เลยทีเดียวเพราะได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์ของราชวงค์คุปตะในสมัยนั้น
และที่สำคัญได้เกิดมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกขึ้นในโลก นั่นก็คือมหาวิทยาลัยนาลันทา
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีพระสงฆ์เข้ามาศึกษากันเป็นจำนวนมาก
มหาวิทยาลัยนาลันทา มหาวิทยาลัยแห่งแรกในโลก |
สงสัยกันใช่ไหมครับว่าพระพุทธศาสนาที่มีความเจริญรุ่งเรืองถึงขนาดมีก่อการตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้นแล้วทำไมพระพุทธศาสนาถึงได้เสื่อมถอยไปได้
เรามาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนาในอินเดียเสื่อมถอยและล่มสลายไปเกิดจากสาเหตุใดบ้าง
สาเหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาในอินเดียเสื่อมถอยและล่มสลาย
เกิดจากเหตุ 2 ประการคือ
1.เกิดจากภัยภายใน
2.เกิดจากภัยภายนอก
ภัยภายใน
๑. เพราะแตกสามัคคี เพราะพระสงฆ์เกิดแตกสามัคคีกัน ไม่มีความปรองดองกัน
ชิงดีชิงเด่นกันเป็นใหญ่ หลงไหลในลาภยศสักการะ ไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัย เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสอนอันดั้งเดิมเพิ่มเติมเข้ามาใหม่ทำไห้เกิดสัทธรรมปฎิรูป(พระสัทธรรมเทียม) แม้แต่สมัยพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ก็ยังมีให้เห็น เช่น เรื่องการแตกสามัคคีของพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพี
และพระเทวทัตต์ เป็นต้น
และได้มีการสืบต่อๆกันมาไม่ขาดระยะ
นับว่าเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งในวงการพุทธศาสนาอันเป็นเหตุให้ศาสนาอื่นๆ
ฉวยโอกาสโจมตีได้ เท่ากับ เป็นการเปิดประตูบ้านให้พวกโจรเข้ามาขโมยของในบ้าน สังคายนาแต่ละครั้งที่ทำในอินเดียจึงมีมูลเหตุมาแต่การแตกแยกของพระภิกษุสงฆ์เป็นส่วนใหญ่
๒.เลียนแบบลัทธิตันตระในศาสนาฮินดู เมื่อ พศ.๑๕๐๐
พุทธศาสนาได้รับเอาลัทธิตันตระของฮินดูมาปฎิบัติ แล้วเรียกในชื่อใหม่ว่า “พุทธตันตระ”
ซึ่งเป็นการขัดต่อคำสอนดั้งเดิมของพุทธศาสนา คำว่า พุทธตันตระ
หมายเอาพุทธศาสนาในยุคหลังอันมี มนตรยาน วัชรยาน
และสหัสยาน
ลัทธินี้ก่อนที่จะเสื่อมจากอินเดียได้ไปเจริญรุ่งเรืองในประเทศธิเบต
เนปาล และภูฐาน เมื่อพุทธศาสนาถือเอาลัทธิตันตระมาผสมผสานกับศาสนาของตน
จึงไม่มีความแตกต่างจากฮินดู ทำให้ห่างจากหลักการเดิมไปทุกที
พุทธสายวัชรยาน "ตันตระ" พระพุทธศาสนาแรกศรัทธาในทิเบต |
๓.พระสงฆ์ลืมหลักการเดิม เมื่อพุทธปรินิพพานราว
๑๐๐ ปีเป็นต้นมา พุทธศาสนาเปรียบเหมือนเรือไม่มีหางเสือ
ลูกที่กำพร้าพ่อแม่ จึงเริ่มไม่เกรงใจกันและกัน ได้เริ่มมีทิฏฐิ ไม่ยอมอยู่ร่วมกัน แยกออกเป็นนิกายมากมาย
ต่อมาได้เริ่มรับเอาแนวความคิดแบบฮินดูเข้าไปมาก
เช่น แนวความคิดพระโพธิสัตว์ที่เริ่มเน้นแบบเทพเจ้าฮินดู
แนวความคิดเกี่ยวกับพระอาทิพุทธะที่เลียนแบบพระพรหม
และการถือเอาลัทธิตันตระของฮินดูเข้ามาผสมทำให้ลืมหลักการ ราว พศ.๑๖๐๐
เป็นต้นมาก่อนการรุกรานอินเดียของกองทัพมุสลิม
พระสงฆ์บางกลุ่มลืมหลักการเดิมไปมากถึงขนาดมีภรรยา
เป็นพ่อมดหมอผีเองเพื่อหาเลี้ยงชีพ และเรียกตนเองว่า สิทธะ ไม่ใช่ภิกษุเหมือนเดิม
๔.พุทธบริษัทไม่สนใจปกป้องศาสนาของตนเอง ในอินเดียโบราณ พุทธบริษัทสมัยหลังมีแนวความคิดว่า ชั่วช่างชีดีช่างสงฆ์ กล่าวคือ พระสงฆ์จะดีจะเลวก็ช่างไม่ใช่ธุระ
ไม่ใช่ภาระของตนเองที่จะต้องสนใจ
ต่อมาพระสงฆ์เริ่มห่างเหินจากชาวบ้าน ชาวบ้านก็ห่างเหินวัดไม่ได้สอนบุตรธิดาให้ยึดมั่นในศาสนาที่ตนเองนับถือ โดยถือว่าพุทธศาสนาเป็นเรื่องของพระไม่เกี่ยวกับชาวบ้าน เมื่อกองทหารมุสลิมเข้ามาโจมตี จึงไม่มีใครเข้าช่วยเหลือพระได้เลย เมื่อทหารมุสลิมทำลายพระสงฆ์จนหมด ชาวบ้านก็ลืมพุทธศาสนาได้อย่างง่ายดาย เพราะไม่มีใครแนะนำ ส่วนศาสนาพราหณ์นั้น มีพราหมณ์เป็นแกนนำ ที่แต่งตัวไม่แตกต่างจากชาวบ้านการทำลายจึงทำได้ยาก และมีระบบสอนลูกจากลูกไปสู่หลานตามลำดับ จึงรักษาศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู)ใว้ได้
ต่อมาพระสงฆ์เริ่มห่างเหินจากชาวบ้าน ชาวบ้านก็ห่างเหินวัดไม่ได้สอนบุตรธิดาให้ยึดมั่นในศาสนาที่ตนเองนับถือ โดยถือว่าพุทธศาสนาเป็นเรื่องของพระไม่เกี่ยวกับชาวบ้าน เมื่อกองทหารมุสลิมเข้ามาโจมตี จึงไม่มีใครเข้าช่วยเหลือพระได้เลย เมื่อทหารมุสลิมทำลายพระสงฆ์จนหมด ชาวบ้านก็ลืมพุทธศาสนาได้อย่างง่ายดาย เพราะไม่มีใครแนะนำ ส่วนศาสนาพราหณ์นั้น มีพราหมณ์เป็นแกนนำ ที่แต่งตัวไม่แตกต่างจากชาวบ้านการทำลายจึงทำได้ยาก และมีระบบสอนลูกจากลูกไปสู่หลานตามลำดับ จึงรักษาศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู)ใว้ได้
๕.พุทธศาสนามีคำสอนที่ทวนกระแส
คือ ดิ่งสู่ความเป็นจริง เป็นการฝืนใจคนอินเดียในสมัยนั้น
แนวคำสอนของพุทธศาสนาเรื่องการไม่สนับสนุนการอ้อนวอนก็ขัดต่อความรู้สึกคน
สมัยนั้นที่นิยมการอ้อนวอนบูชาบวงสรวงสิ่งที่ไกลตัว เพื่อหวังลาภสักการะ
หวังเป็นที่พึ่ง
พิธีการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ |
แนวคำสอนของพุทธศาสนาดึงคนเข้ามาหาหลักไม่ใช่ดึงหลักเข้ามาหาคน
ไม่บัญญัติไปตามความชอบพอของคนบางคน
ทำให้ปุถุชนผู้เบาปัญญาเกิดความเบื่อหน่ายและหันไปนับถือศาสนาอื่นได้ นอกจากนั้น
หลักคำสอนเกี่ยวกับปฎิเวธ
วรรณะของคนชั้นสูงก็ไม่อยากให้มีการล้มเลิกลัทธิประเพณีของเขา
บางครั้งคนเหล่านี้ไม่ได้นับถือศาสนาด้วยปัญญา แต่นับถือด้วยการยึดมั่นอยู่กับพิธีกรรมจึงทำให้เป็นการขัดต่อความเชื่อถือ
ของเขา
๖.ขาดผู้อุปถัมภ์ พุทธศาสนาเจริญและดำรงอยู่มาได้
เพราะมีพระมหากษัตริย์ให้ความอุปถัมถ์บำรุงอย่างแข็งขัน เช่น พระเจ้าอโศก
พระเจ้ามิลินท์ พระเจ้ากนิษกะ พระเจ้าหรรษวรรธนะ พระเจ้าธรรมปาละ พระเจ้าเทวปาละ
เป็นต้น ทำให้พระพุทธศาสนาแผ่กระจายอย่างกว้างขวาง ทั้งในและนอกชมพูทวีป
แต่บางคราวที่กษัตริย์อินเดียนับถือศาสนาอื่น จะทำให้พุทธศาสนาโดยรวมขาดการอุปถัมภ์ พระสงฆ์อยู่ด้วยความลำบาก หรือถูกขัดขวาง เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ขาดน้ำและปุ๋ย และพระมหากษัตริย์บางพระองค์ นอกจากไม่คุ้มครองและยังทำลายพุทธศาสนาอย่างย่อยยับ เช่น กษัตริย์ศศางกะ ปุษยมิตร เป็นต้น
แต่บางคราวที่กษัตริย์อินเดียนับถือศาสนาอื่น จะทำให้พุทธศาสนาโดยรวมขาดการอุปถัมภ์ พระสงฆ์อยู่ด้วยความลำบาก หรือถูกขัดขวาง เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ขาดน้ำและปุ๋ย และพระมหากษัตริย์บางพระองค์ นอกจากไม่คุ้มครองและยังทำลายพุทธศาสนาอย่างย่อยยับ เช่น กษัตริย์ศศางกะ ปุษยมิตร เป็นต้น
ภัยภายนอก
ศาสนาพราหมณ์ -ฮินดูเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อสังคมอินเดียภายหลังพระพุทธศาสนาเริ่มอ่อนแอ |
๑.ถูกศาสนาฮินดูเบียดเบียน ศาสนาฮินดูได้เป็นคู่แข่งของพุทธศาสนาเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนกระทั่งสมัย ปัจจุบันนี้เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วพวกพราหมณ์หรือฮินดูก็ได้เริ่ม ประกาศคำสอนของตนเป็นการใหญ่ ส่วนพระสงฆ์ในพุทธศาสนามีแต่การตั้งรับ บางครั้งก็เปิดช่องว่างให้เขาหรือไม่ก็หลอมตัวเข้าหาเขาจึงเท่ากับว่าเรา ทำลายตัวเราเองด้วยและถูกคนอื่นทำลายด้วย
เส้นทางการเดินทางของพระสวามิน |
พระธรรมสวามินพาท่านราหุลศรีภัทรหลบหนีจากนาลันทา |
ถ้าหากพระสงฆ์และชาวพุทธยังยึดมั่นอยู่ในคำสอนและรักษาความสามัคคีในหมู่คณะ
ไว้ได้ดีแล้ว คนอื่นหรือศาสนาอื่นก็ทำอะไรได้ยาก
เพราะพุทธศาสนาย่อมได้เปรียบศาสนาอื่นในหลักคำสอนอยู่แล้ว
การทำลายของศาสนาฮินดูมีใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง
ไม้อ่อน
คือ โจมตีด้วยคำสอน ลอกเลียนแบบคำสอน นำพระพุทธเจ้ามาเป็นอวตาร
ไม้แข็ง
คือ ทำลายวัด ยึดวัดพุทธมาเป็นฮินดู วัดส่วนมากกลายเป็นฮินดูเช่น ในอินเดียภาคใต้
พุทธคยา ตโปธาราม ราชคฤห์ วาลุการามที่สังคายนาครั้งที่๒ วัดถ้ำที่อินเดียภาคใต้
โบสถ์พระรามที่อโยธยา ก็กลายมาเป็นสมบัติชาวฮินดูไป
นอกจากนั้นยังซ้ำเติมยามพลั้งพลาด
เช่นพราหมณ์กลุ่มหนึ่งหลังมุสลิมเติร์กกลับจากเผามหาวิทยาลัยนาลันทาแล้ว
ก็กลับมาเผาซ้ำอีก
ในสมัยต่อมา นักบวชฮินดู ได้เปลี่ยนแนวการสอนใหม่จากเดิมที่ไม่อยู่หลักแหล่งมเป็นการตั้งสำนัก จากไม่มีองค์กรคณะสงฆ์ก็ตั้งคณะสงฆ์ จากนักบวชพราหมณ์ที่นุ่งห่มสีขาว กลายมาเป็นแต่งชุดสีเหลืองเหมือนพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา นักบวชที่แต่งชุดเหลือง ถูกเรียกว่า สาธุ
ในสมัยต่อมา นักบวชฮินดู ได้เปลี่ยนแนวการสอนใหม่จากเดิมที่ไม่อยู่หลักแหล่งมเป็นการตั้งสำนัก จากไม่มีองค์กรคณะสงฆ์ก็ตั้งคณะสงฆ์ จากนักบวชพราหมณ์ที่นุ่งห่มสีขาว กลายมาเป็นแต่งชุดสีเหลืองเหมือนพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา นักบวชที่แต่งชุดเหลือง ถูกเรียกว่า สาธุ
แม้พระสงฆ์ไทยเมื่อไปอยู่ที่
อินเดีย ก็ถูกเรียกว่าสาธุเช่นกัน และคิดเหมาว่าเป็นฮินดูทั้งหมด
เมื่อฮินดูปฏิรูปการนุ่งห่มทำให้ความแตกต่างลดน้อยลง
และการกลืนก็เป็นไปโดยง่ายขึ้น
๒. ถูกมุสลิมทำลาย เมื่อสมัยที่มุสลิมเข้ามามีอำนาจในอินเดียกษัตริย์มุสลิมได้แผ่อำนาจไปใน
ส่วนต่างๆของอินเดียราว พศ.๑๗๐๐ กองทัพมุสลิมได้ทำลายวัดวาอาราม
รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ฆ่าฟันพระสงฆ์อย่างมากมายจน
การรุกรานของศาสนาอิสลามในประเทศอินเดีย |
พระสงฆ์และชาวพุทธ
ต้องหนีกันออกนอกประเทศอินเดียเข้าไปอาศัยในเนปาล สิกขิม ธิเบต
ต่อมาเมื่อมุสลิมยึดอินเดียได้อย่างเด็ดขาด อิทธิพลของศาสนาอิสลามก็ได้แผ่ตามไปด้วย
เป็นเหตุให้พุทธศาสนาพลอยได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนักจนสูญหายไปในที่สุด
ในสมัยพุทธกาลก่อนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงปรินิพพาน
พระกิมพิละเข้าได้เข้าไปกราบทูลและได้สอบถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมไม่ตั้งอยู่ยั่งยืน
เมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว”
พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบพระกิมพิละว่า
“ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกา
ในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม
เป็นผู้ไม่มีความเคารพไม่มีความยำเกรงในสงฆ์ เป็นผู้ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในสิกขา เป็นผู้ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงกันและกัน
ดูก่อนกิมพิละ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ”
พระพุทธศาสนากำลังตกอยู่ในภาวะเสื่อมถอย
เนื่องจากพุทธบริษัท 4 โดยเฉพาะพระภิกษุมีพฤติกรรมที่เรียกได้ว่าไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา
ซึ่งหมายถึง "พระธรรมวินัย" ซึ่งพระพุทธเจ้าได้แต่งตั้งให้เป็นศาสดาแทนหลังจากพระองค์ล่วงลับไปแล้ว
จากพระพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระอานนท์ ที่ว่า
"ดูก่อนอานนท์ พระธรรมก็ดี พระวินัยก็ดี ที่เราตถาคตแสดงแล้ว
บัญญัติแล้วอันใด พระธรรมวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแทน เมื่อเราตถาคตล่วงลับไปแล้ว(โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา.)"
จากบทความดังกล่าวจะเห็นได้ว่าปัจจัยสำคัญที่มีผลทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมถอยนั้นเกิดจากพุทธบริษัท4 ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนาเลยก็ว่าได้
เมื่อไรที่พระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไม่ตั้งอยู่ในธรรม(พระธรรมวินัย)
ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ จึงทำให้เกิดความปัญหาตามมา เป็นเหตุให้เกิดการแตกแยก เป็นจุดอ่อนสำคัญที่ทำให้ศาสนาอื่นเข้ามาแทรกแซงและโจมตีได้ง่าย
การทุบทำลายโบสถ์-วิหารทางสิ่งสำคัญทางพระพุทธศาสนา |
อุบาสก
อุบาสิกา หรือปุถุชนผู้เบาปัญญาเกิดความเบื่อหน่ายและหันไปนับถือศาสนาอื่นและความเชื่อเดิมๆของตน
ทำให้พระพุทธศาสนาขาดผู้ที่จะมาอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา
จึงทำให้พระพุทธศาสนาอ่อนแอลง และถูกภัยจากศาสนาอื่นเข้ามาแทรกแซงและทำลาย
ทำให้พระพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองนั้นค่อยเสื่อมลงและหายไปในที่สุด
จากการล่มสลายของพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดียในครั้งนั้น
ก็ถือว่าเป็นบทเรียนที่สำคัญของชาวพุทธที่จะต้องตระหนักว่า
แม้พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองขนาดไหนแต่เมื่อไรที่พระพุทธศาสนาขาด
พุทธบริษัทที่จะช่วยประคับประครอง ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาแล้ว
พระพุทธศาสนาก็ไม่สามารถที่จะยืนหยัดอยู่ต่อไปได้เช่นเดียวกัน
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียที่ผ่าน ทำให้เราชาวพุทธต้องหันมาทบทวนแล้วละว่าเราจะมีวิธีการใดที่จะช่วยปกป้อง
รักษา และสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาของเราให้กับบุคคลที่มาในภายหลัง
เพื่อให้บุคคลเหล่าได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไปได้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสตอบคำถามที่พระกิมพิละได้เคยกราบทูลถามพระองค์ไว้ว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็อะไร เป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นานหลังจากพระตถาคตปรินิพพานแล้ว"
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า
"ดูก่อน กิมพิละ
เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้วหากพวกภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก
อุบาสิกา
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ที่มีความเคารพ มีความยำเกรงในพระศาสดา มีความเคารพ มีความยำเกรงในพระธรรม
มีความเคารพ มีความยำเกรงในพระสงฆ์ มีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขาบท
มีความเคารพ
มีความยำเกรงซึ่งกันและกัน
ดูก่อนกิมพิละ ปฏิปทานี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้...พระสัทธรรม ดำรงอยู่ได้นาน"
นี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ได้ ตราบใดที่พุทธบริษัท4ยังคงมีความเคารพต่อพระศาสดา(พระพุทธ)
มีความเคารพต่อพระธรรม(คำสอน) มีความเคารพต่อพระสงฆ์ มีความเคารพต่อสิกขาบท(ข้อศีล ข้อวินัย ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด) และภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกามีความเคารพยำเกรงซึ่งกันและกัน มีความเหนียวแน่นในพระพุทธศาสนาแล้ว
แม้จะมีภัยเข้ามารุกรานอย่างไรก็ไม่สามารถที่จะทำลายพระพุทธศาสนาได้
จากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนาของไทยในปัจจุบัน
ที่เห็นกันอยู่ตามหน้าข่าวหนังสือพิมพ์ต่างๆ จะเห็นได้ว่า
พระพุทธศาสนากำลังถูกเบียดเบียนจากบุคคลบางกลุ่มหรือพระสงฆ์บางรูป ที่อ้างตัวเองว่าจะเข้ามาเพื่อช่วยปกป้องและสนับสนุนงานพระพุทธศาสนา
แต่กับเข้ามาเพื่อหาผลประโยชน์จากพระพุทธศาสนา และพยายามที่จะทำลายพระพุทธศาสนาโดยวิธีการต่างๆเช่นการยุยงปั่นป่วนให้พระสงฆ์แตกความสามัคคีกัน
การพยายามทำให้พระสงฆ์และวัดตกเป็นจำเลยของสังคม
เช่น เรื่องของเงินทอนวัด
เรื่องของการบุกรุกป่าเพื่อสร้างวัด เรื่องของพระใช้ของหรูของแบรนด์เนม เป็นต้น ฆราวาสบางคนหรือพระบางรูปถึงขนาดพูดจาจาบจ้วง
ล่วงเกินพระสงฆ์ไปต่างๆนานา ขาดสติ
ไร้ปัญญา
สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดจากภัยภายในด้วยกันทั้งสิ้น
เป็นปัญหาที่เกิดจากพุทธบริษัทบางกลุ่มไม่มีความเคารพต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีความเคารพซึ่งกันและกัน
ไม่ตั้งอยู่ในศีล ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ดั่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้และไม่มีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา
ไม่สนใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา เป็นพวกเบาปัญญา
เห็นคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องน่าเบื่อ เป็นพวกไม่ได้นับถือศาสนาด้วยปัญญา
แต่นับถือด้วยการยึดติดอยู่กับพิธีกรรมเดิมๆ หรือประเพณีเดิมๆที่สืบทอดต่อๆกันมาโดยไร้สติ
คิดแต่เพียงว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง และการที่พระสงฆ์ท่านพยายามปรับปรุงวิธีการเทศน์สอนเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบันก็กล่าวหาว่าท่านสอนผิดจากพระธรรมวินัยจากไตรปิฎก
เพียงเพราะขัดต่อความเชื่อหรือความคิดของตนแต่หาได้ศึกษาหลักธรรมที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาไม่
สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่เราชาวพุทธทุกคนจะต้องรีบช่วยกันแก้ไข
ก่อนที่ปัญหาต่างๆเหล่านี้จะกับกลายมาเป็นไวรัสร้ายแพร่กระจายไปยังสังคมไทยมากไปกว่านี้
เมื่อถึงเวลานั้นแล้วพระพุทธศาสนาก็ยากต่อการแก้ไข
และอาจจะกลายเป็นอดีตเมืองพุทธเช่นเดียวกันกับประเทศอินเดียในอดีตก็เป็นได้
วัดพระราม
ตั้งอยู่นอกเขตพระราชวังไปทางด้านทิศตะวันออก
ตรงข้ามกับวิหารพระมงคลบพิตร ปัจจุบันคือ “สวนสาธารณะบึงพระราม”
วึ่งใช้เป็นที่สำหหหหรับพักผ่อนของนักท่องเที่ยวและชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โบราณสถานวัดสักน้อย (ร้าง) |
เมื่อไหร่ที่พุทธบริษัท4อ่อนแอ
ก็จะเป็นชนวนอย่างดีให้ศาสนาอื่นหรือลัทธิความเชื่ออื่นเข้ามาแทรกแซงและทำลายพระพุทธศาสนาของเราได้ ถ้าพุทธบริษัท4ยังเข้มแข็งและเหนี่ยวแน่น
แม้จะมีภัยจากที่ต่างๆเข้ามาก็ไม่สามารถที่จะทำอันตรายใดๆให้กับพระพุทธศาสนาของเราได้
ดังนั้น ความสามัคคีคือพลังที่จะขับเคลื่อนพระพุทธศาสนาของเราให้ยังคงอยู่คู่กับประเทศชาติบ้านเมืองของเราต่อไป
อย่าปล่อยให้พระสงฆ์ต้องทำหน้าที่ในการปกป้องพระพุทธศาสนาเพียงลำพัง
เราชาวพุทธทุกคนสามารถช่วยกันปกป้องพระพุทธศาสนาได้ ด้วยการนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ได้ใช้ในชีวิตประจำวันและช่วยกันเผยแผ่หลักธรรมคำสอนนั้นให้ผู้อื่นเขาเข้าใจและถือปฏิบัติตาม
https://mamoketio.blogspot.com/2017/09/4-5.html
ข้อมูลจาก:ธรรมะไทย,narater2010
https://mamoketio.blogspot.com/2017/09/4-5.html
ข้อมูลจาก:ธรรมะไทย,narater2010
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น