วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในทางพระพุทธศาสนาท่านคิดว่าเราสามารถนำหลักธรรมคำสอนใดมาช่วยแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันนี้ได้บ้าง

ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในทางพระพุทธศาสนาท่านคิดว่าเราสามารถนำหลักธรรมคำสอนใดมาช่วยแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันนี้ได้บ้าง
          ถ้าจะพูดถึงเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน ประเทศไทยก็ถือว่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่น้อยหน้าใครเลยทีเดียว เพราะจากสถิติที่ผ่านมาในแต่ละปีปัญหาการคอร์รัปชันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆไม่มีท่าทีว่าจะลดลงเลยแม้แต่น้อย การคอร์รัปชันมีมาตั้งแต่สมัยไหนไม่มีใครทราบแต่เท่าที่ทราบคือตั้งแต่จำความได้ ก็ได้ยินคำนี้แล้ว แต่อาจจะพูดออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น การฉ้อโกง,การทุจริต,การเอารัดเอาเปรียบของคนบางกลุ่มเป็นต้น



               การทุจริตคอร์รัปชัน เกิดขึ้นทุกรูป ทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของภาครัฐหรือเอกชนก็ตาม
          หลายคนคงสงสัยว่าอะไรที่เป็นตัวผลักดันทำให้เกิดการคอร์รัปชันขึ้น การคอร์รัปชันเกิดขึ้นได้อย่างไร,สาเหตุสำคัญของการคอร์รัปชันคืออะไร ใครคือบุคคลที่ทำให้เกิดการคอร์รัปชันขึ้น แต่ก่อนที่จะไปค้นหาคำตอบเหล่านี้ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปดูความหมายของคำว่า “คอร์รัปชัน” กันก่อนดีกว่านะครับ
          คอรัปชั่น คือการทุจริตโดยใช้หรืออาศัยตำแหน่งอำนาจหน้าที่และอิทธิพลที่ตนมีอยู่ เพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น การเห็นแก่ญาติพี่น้อง กินสินบน ฉ้อราษฎร์บังหลวง การใช้ระบบอุปถัมภ์และความไม่เป็นธรรมอื่นๆที่ข้าราชการหรือบุคคลใดใช้เป็นเครื่องมือในการลิดรอนความเป็นธรรม
          การคอรัปชัน ตามประมวลกฏหมายอาญา คือการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิชอบด้วยกฏหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เช่น ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดที่เกี่ยวกับความยุติธรรมตลอดจนความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ความยุติธรรม ซึ่งกล่าวง่ายๆ คือ การกระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรชอบได้ด้วยกฏหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เช่น
1. การเบียดบังทรัพย์ของทางราชการเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต
2. การใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ
3. การบอกว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์แก่เจ้าพนักงาน เมื่อทำการเอื้อประโยชน์แก่ตน       
      จากข้อมูลและสถิติที่ได้พบ จะเห็นได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศระดับต้นๆของโลกที่มีการคอร์รัปชันมากที่สุดเลยก็ว่าได้
      ปัญหาการคอร์รัปชันเกิดขึ้นจากบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่ มีความโลภ อยากได้ไม่แบบไม่รู้จักพอ ขาดความซื่อสัตย์ต่อตำแหน่งหน้าที่การงานของ
ตนและหมู่คณะ บุคคลเช่นนี้เป็นบุคคลที่คบไม่ได้ ไปที่ไหนก็จะก่อปัญหาและความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น สังคมและประเทศชาติ
สาเหตุสำคัญที่เป็นตัวผลักดันทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น
1.ขาดความธรรม ขาดความซื่อสัตย์ต่อตำแหน่งหน้าที่การงานของตน
2.ขาดอุดมการณ์หรืออุดมคติ คือไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการดำเนินชีวิต
3.ได้รับการถ่ายทอดค่านิยมแบบผิดในสังคม คือยกย่องคนมีเงินมากกว่าคนดี
4.ลุ่มหลงในอำนาจ ทำให้ใช้อำนาจไปในทางที่ผิด
5.มีรายได้ไม่เพียวพอกับรายจ่ายจึงด้นรนที่จะหาทรัพย์นั้นมาแม้ว่าจะได้มาโดยวิธีการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม
ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าบุคคลเหล่านี้ ขาดหลักธรรมในการดำเนินชีวิตที่เรียกว่าหลักฆราวาสธรรม 4 คือ หลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน มีอยู่ 4 ประการคือ
1.สัจจะ คือ ซื่อสัตย์สุจริต,ซื่อตรงและจริงใจต่อหน้าที่การงานของตน
2.ทมะ คือ การฝึกฝนอบรมตนเอง และข่มใจตนเองไม่ให้ไปยึดติดกับอบายมุข คือความโลภอยากได้ในสิ่งที่ได้ใช่ของของตน, ความโกรธ, ความหลง เป็นต้น
3.ขันติ คือความอดทน ในที่นี้หมายถึง อดทนต่อกิเลส ต่อสิ่งยั่วยุ ต่อราคะที่จะเข้ามาครองงำจิตใจของตนไม่ให้หลงไปกระทำความผิดนั้นๆ
4.จาคะ คือการสละ ในที่นี้รวมถึงการสละกิเลส,สละอารมณ์ออกไปจากใจของตน ไม่ยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งต่างๆที่เข้ามายั่วยุจิตใจของเรา

นอกจากหลักธรรมเรื่องของฆราวาสธรรมแล้วยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ทุกคนจะต้องมีนั่นก็คือหิริ-โอตัปปะ
หิริ คือความละลายต่อบาป ละอายต่อการทำความชั่ว
โอตัปปะ คือความเกรงกลัวต่อบาปหรือการทำความชั่ว
           หลักธรรมข้อนี้เป็นหลักธรรมที่เตือนสติให้เรายั่งคิด ไตร่ตรองก่อนที่จะกระทำการใดๆ และผลของการกระทำนั้นๆว่าเป็นผลดีหรือไม่ดีต่อตนเองและคนอื่น เพื่อให้เกิดความละอายใจต่อการทำความชั่ว ต่อการประพฤติทุจริตทั้งหลาย และเกรงกลัวต่อความชั่วต่อผลของความทุจริตที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง
       แต่คนในสังคมทุกวันนี้เริ่มที่จะห่างหายจากพระพุทธศาสนาและไม่ให้ความสำคัญต่อคำสอนของพระพุทธศาสนา ไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ขาดหิริโอตัปปะ ทำให้ไม่มีความเกรงกลัวต่อการกระทำและผลของการกระทำของตน ขาดการยับยั้งชั่งใจในการกระทำความชั่ว ทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันไปในวงกว้าง เพราะคิดว่าการทุจริตคอร์รัปชันนั้นเป็นเรื่องปกติที่ใครๆเขาก็ทำกัน
สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นค่านิยมที่ผิด ที่เราทุกคนต้องหันมาให้ความสำคัญ เพราะถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศ ถ้าบ้านเมืองใดขาดคุณธรรม คนในประเทศขาดหลักฆราวาสธรรมและขาดหิริโอตัปปะแล้ว สังคมนั้น ประเทศชาติบ้านเมืองนั้นย่อมเป็นการยาก ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้
สังคมวุ่นวายเพราะคนในสังคมขาดที่พึ่งขาดหลักธรรมที่จะมายึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้เกิดความสับสนวุ่นวาย ยากที่จะหาทางแก้ไขได้ ขาดการยับยั้งชั่งใจในการกระทำความชั่ว คิดว่าสิ่งที่ตนทำนั้นไม่ผิด เกิดการปลุกฝังนิสัยความเห็นแก่ตัว โลภอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการคอร์รัปชัน บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสาย เกิดการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันยากที่จะหาความสงบสุขได้
อย่ามัวแต่หาคนผิดมาลงโทษเพราะสิ่งนั้นมันไม่ใช่ทางออกที่สำคัญ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากอะไร เพื่อที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาเหล่านั้นให้ตรงจุด ไม่ใช่มัวแต่มาโทษคนนั้นคนนี้ โทษกันไปโทษกันมาแล้วเมื่อไหร่ละประเทศชาติจะสงบสุขเสียที

                  หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ถึงแม้จะรู้ แต่ถ้าไม่รู้จักนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มันก็ยากที่จะทำให้คนในสังคมสื่อสารกันให้เข้าใจได้
                  คนไทยถือว่าโชคดีที่มีพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ดังนั้นอย่าปล่อยให้พระพุทธศาสนาเป็นเพียงศาสนาที่เรานับถือตามๆกันมา  เพราะคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นหลักธรรมที่จะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้ โดยไม่ต้องอาศัย ตำแหน่งหรืออำนาจหน้าที่ใด แค่รู้จักคำว่า “พอ”และนำเอาหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน แค่นี้ทุกคนก็จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้  ประเทศชาติก็จะร่มเย็นเพราะอาศัยหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

                การปลุกฝังเด็กๆให้มีความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาก็เป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยทำให้ประเทศชาติของเราลดปัญหาการคอร์รัปชันได้มาก เพราะเด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า ถ้าเขาได้ถูกปลุกฝังในสิ่งที่ดีๆ เชื่อว่าในอนาคตข้างหน้าเด็กเหล่านี้จะกลายกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองปราศจากการคอร์รัปชันได้ในที่สุด


https://mamoketio.blogspot.com/2017/08/1.html

5 ความคิดเห็น:

  1. ฝึกฝนตนเองด้วยทานศีล สมาธิ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณสำหรับบทความดีๆแบบนี้ครับ

    ตอบลบ
  3. ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หนีกฏแห่งกรรมไม่พ้นแน่นอนครับ

    ตอบลบ
  4. เรียน Web Master และผู้เขียน Blog ทราบ

    เนื่องจากไม่สามารถติดต่อผู้เขียน Blog ได้โดยตรง แต่เห็นว่าเป็นบทความที่มีประโยชน์ วารสารสำนักงาน ป.ป.ช. สุจริต จึงขออนุญาตนำบทความเรื่อง เสียงสะท้อนจากกระจกเงาของพระพุทธศาสนา จากเว็บไซต์ https://mamoketio.blogspot.com/2017/08/1.html มาเผยแพร่ลงในวารสารสำนักงาน ป.ป.ช. สุจริต ฉบับประจำเดือนมกราคม-มีนาคม 2561 เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในวงกว้างทั่วประเทศได้เป็นอย่างดี

    จึงเรียนมาเพื่อขออนุญาต

    ขอแสดงความนับถือ
    กองบรรณาธิการ
    วารสารสำนักงาน ป.ป.ช. สุจริต

    ตอบลบ