This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2561

คนเราไม่ผิดที่จะคิด...แต่เมื่อรู้ว่าคิดผิดและยอมที่จะแก้ไข ถือว่าคน คนนั้นเป็นผู้ที่ควรแก่การยกย่องอย่างยิ่ง...

คนเราไม่ผิดที่จะคิด...แต่เมื่อรู้ว่าคิดผิดและยอมที่จะแก้ไข ถือว่าคน คนนั้นเป็นผู้ที่ควรแก่การยกย่องอย่างยิ่ง...

เพราะความไม่รู้หรืออคติ จึงทำให้คนเราเห็นกงจักรเป็นดอกบัว แต่ถ้าลองเปิดใจให้กว้างสักนิด สิ่งที่ท่านคิดอาจจะไม่ใช่ความจริงก็เป็นได้
เจ้าของเฟสบุ๊คท่านหนึ่งได้ออกมาถ่ายทอดเรื่องราวของเขาโดยการโพสต์ข้อความลงในเฟสบุ๊คของตัวเอง ถึงเรื่องราวที่เกี่ยวกับความไม่เข้าใจหรือความมีอคติที่เกิดขึ้นภายในใจ ทำให้เขามองสิ่งเหล่านั้นไปในทางที่ไม่ดี แต่พอเจ้าของเฟสบุ๊คท่านนี้ได้เปิดใจที่จะยอมรับฟัง และยอมที่จะ ก้าวเข้าไปพิสูจน์ในสิ่งที่สงสัยนั้น และเมื่อเข้าใจแล้ว เขาก็พร้อมที่จะเปิดใจยอมรับ และได้ลบอคติหรือความเข้าใจผิดนั้นออกไป และพยายามที่แก้ไขข้อผิดพลาดนั้นๆ
คนเราไม่ผิดที่จะคิด แต่เมื่อรู้ว่าคิดผิดและยอมที่จะแก้ไข ถือว่าคน คนนั้นเป็นบุคคลที่ควรแก่การยกย่องเป็นอย่างยิ่ง เจ้าของเฟสบุ๊คได้โพสต์ข้อความซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
เจ้าของเฟสบุ๊คได้เล่าเรื่องราวจุดเปลี่ยนจากที่เคยไม่เข้าใจวัดดังแห่งหนึ่งแถวปทุมธานีเพราะได้รับข้อมูลมาแบบผิดๆจากสื่อ ทำให้มองวัดนั้นไปในทางที่ไม่ดี และเคยวิจารณ์วัดนั้นด้วยข้อมูลที่ได้รับมาแบบผิดๆ จากสื่อด้วย ซึ่งเนื้อมีดังนี้
"ไถ่โทษที่เคยมองวัดพระธรรมกายผิด หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องออกโรงช่วยวัดพระธรรมกาย เป็นการไถ่ความผิดที่เคยมองวัดนี้ผิดทั้งที่ไม่เคยเข้าไปศึกษา
"กราบขออโหสิกรรมด้วยกายวาจาใจที่เคยล่วงเกิน เคยว่าเขาเคยวิจารณ์ด้วยข้อมูลที่รับมาผิดๆจากสื่อได้รับนิมนต์ไปรับมหาสังฆทานที่วัดพระธรรมกาย3ครั้ง แต่ไม่เคยไปแม้แต่ครั้งเดียว..(เพราะอคติกับวัดเขา)"
@photoofdays.blogspot.com @nop072.blogspot.com
และเจ้าของเฟสบุ๊คยังได้เล่าถึงเรื่องราว จุดเปลี่ยนที่ทำให้เขาหันกลับมามองวัดนี้ใหม่เพราะอะไร มาติดตามกันต่อได้เลยครับ
จุดเปลี่ยนที่ทำให้เจ้าของเฟสบุ๊คคือ
"จุดเปลี่ยน คือการไปดูงานที่วัดบ้านขุน อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นสาขาของวัดพระธรรมกายที่มีพระเณรชาวเขามาบวชเรียน300กว่ารูป ไปเห็นปฏิปทาจริยวัตร์ที่งดงามของพระเณรวัดนี้ ได้มีโอกาสนั่งฉันภัตตาหารเพลท่ามกลางพระเณรชาวเขาวัดนี้ นั่งฉันภัตตาหารไปขนลุกไป มองไปมีแต่ภาพที่งดงามมาก
  • นั่งเงียบกริบ เสียงพูด เสียงฉันอาหารไม่มีให้ได้ยิน เสียงช้อนกระทบจานไม่มีให้ได้ยิน
  • ฉันเสร็จลุกขึ้นภาชนะใส่อาหารหายไปพร้อมกับสามเณร อย่าว่าแต่ขยะเลย ข้าวหกสั่กเม็ดก็ไม่มี เหมือนสถานที่นี้ทำสะอาดเอาไว้ตลอด
  • ห้องน้ำสะอาดเหมือนกับไม่เคยมีคนใช้
  • ถอดรองเท้าวางเป็นระเบียบ
  • กุฏิทีอยู่พระเณรท่านสร้างกันเองยังกับสถาปนิกจบปริญญามา
  • เรื่องวัตรปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา  ไม่ต้องพูดถึงตื่นตี่4สวดมนต์ทำวัตรเช้าทุกวัน  ตอนเย็นมีชาวบ้านที่เป็นชาวเขาที่อยู่รอบวัด มาทำวัตรสวดมนต์นั่งสมาธิกับพระเณรทุกวัน
  • สถานที่วัดทุกตารางเมตรเป็นระเบียบสะอาดงามตามากๆ จัดเป็นสัดส่วนที่หลับนอนจำวัดพระเณรเป็นระเบียบสะอาดสะอ้าน และ
  • พระเณรที่นี้เวลาพูดจาปราศรัยมารยาทงดงามสุภาพอ่อนโยน คราบของคนป่าคนดอยที่ห่างไกลความเจริญไม่มีปรากฎให้เห็น ที่เห็นก็แค่สำเนียงพูดที่พูดภาษาไทยออกสำเนียงชาวเขา แต่กริยามารยาทเหมือนคนที่อยู่ในอารยธรรมที่เจริญ @kalyanamitra.org @photoofdays.blogspot.com
ถ้าไม่เชื่อไปดูได้ออกจากเชียงใหม่ไม่ไกลมาก ถนนเส้นทางไปวัดทิวทัศน์ป่าเขาสวยงาม เมื่อเข้าไปในวัดเหมือนอยู่คนละโลก
กับสภาพสังคมของชาวป่าชาวเขา นึกว่าเป็นวัดที่อยู่ในถิ่นที่เจริญรุ่งเรืองมากๆ..ข้าราชการผู้ใหญ่พ่อค้าวานิชที่ได้เข้าไปวัดนี้
กลับไปต้องกลับมาทำบุญใหม่มีศรัทธากันทุกคน วัดสาขาของวัดพระธรรมกายทั้งในและต่างประเทศเขาสอนเหมือนกันหมด
จึงหายสงสัยว่าทำไมผู้คนทั้งในและต่างชาติจึงศรัทธาวัดนี้มากมาย จะบอกว่าวัดพระธรรมกายสอนผิดบิดเบือนหลักคำสอนพระพุทธศาสนาได้อย่างไร
@kalyanamitra.org
ในเมื่อพระเณรวัดพระธรรมกายก็เรียนนักธรรมบาลีเหมือนพระเณรทั่วประเทศ แถมยังเป็นวัดที่จบเปรียญธรรม ๙ เยอะที่สุดในประเทศไทย
แต่..สลดใจมากตอนนี้วัดนี้เป็นเหยือทางการเมือง เพราะข้อมูลที่บิดเบื่อนผสมกับการอิจฉาริษยา แบบมีอคติของกลุ่มคนหลายฝ่าย และพวกที่จ่องแสวงหาผลประโยชน์จากวัดพระธรรมกาย หากเราต้องสูญเสียวัดนี้ไป ประเทศไทยคงหมดโอกาสเป็นศูนย์กลางพุทธโลก  ( Fb ดร.แม็ก ภัคสิษฐ์  กล่าว )
จากที่ได้ไปศึกษามาก็ทำให้ทราบว่า วัดดังกล่าวมีระบบการฝึกคนที่ดีมาก  หลายคนอาจจะคงสงสัยว่าวัดนี้เขาฝึกคนกันอย่างไร ทำไมคนวัดนี้ถึงได้รักวัดกันได้ถึงเพียงนี้  ขนาดวัดใหญ่ขนาดนี้ วัดยังสะอาดสะอ้านและเป็นระเบียบเรียบร้อยได้ 
@pantip.com/topic/36347565

@7meditation.blogspot.com @twitter.com/jaiyut24nor @twitter.com/ninjaandtussaka
และได้ทราบข่าวมาว่าวัดนี้นอกจากจะใหญ่โตและสะอาดสะอ้าน เป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว ที่วัดแหล่งนี้เขาก็มีการจัดงานบุญกันทุกอาทิตย์ เรียกได้ว่าพระเณรมีงานกันให้ทำกันไม่เว้นแต่ละวันเลยทีเดียว และถึงแม้ว่าจะมีงานมากมายขนาดไหนกิจวัตรประจำวันของพระเณรในวัดนี้ก็ไม่เคยขาด พระเณรต้องตื่นจากจำวัตรตั้งแต่ตี 4 เพื่อมาสวดมนต์ทำวัตรเช้า และทำความสะอาดวัด ก่อนที่จะไปฉันภัตตาหารเช้า  นอกจากกิจวัตรประจำวันจะไม่ขาดแล้วยังได้ยินข่าวอีกว่า เรื่องการเรียนที่วัดนี้เขาก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน ที่วัดนี้มีพระเณรสอบผ่านนักธรรมบาลีได้เปรียญธรรมกันเป็นจำนวนมาก ( นอกจากนี้สำหรับสาธุชนยังมีผู้ที่สอบได้บาลีศึกษาระดับ 9 กันมาแล้วถึง 7 คนด้วยกัน ) และโดยเฉพาะเปรียญธรรมประโยค 9  วัดนี้ถือว่ามีพระสอบผ่านเปรียญธรรมประโยค 9 มากที่สุดในประเทศ ก็ว่าได้  ล่าสุดการประกาศผลสอบนักธรรมบาลีในปีนี้ผลปรากฎว่าพระของวัดแห่งนี้ก็สอบได้เปรียญธรรมประโยค 9 ถึง 6 รูป  ถือได้ว่าเก่งทั้งปริญัติ และปฏิบัติ  กันเลยทีเดียว
[caption id="attachment_4364" align="alignnone" width="629"] @dailynews.co.th
ดังนั้นเวลาได้ยินอะไรมา เราอย่าพึ่งเชื่อถ้าเรายังไม่ได้พิสูจน์ว่าสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมานั้นเป็นเรื่องจริงตามที่เขาได้กล่าวหาหรือไม่ และอย่าปล่อยให้อคติหรือความไม่รู้มาเป็นตัวปิดกั้นความคิดหรือการตัดสินใจของเรา ที่จะทำในสิ่งที่ดีที่ถูกต้องและยอม!! ที่จะเปิดใจรับฟังและแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดนั้นให้กลับมาในทิศทางที่ดี
อย่าทำเพียงเพราะความไม่เข้าใจ หรือมีอคติอยู่ในใจ แต่จงพยายามหาคำตอบในสิ่งที่ไม่เข้าใจให้เกิดความเข้าใจ ลดอคติที่อยู่ในใจออกไป เมื่อนั้นสิ่งที่ควรทำจะเกิดขึ้นมาเอง
ผลดีของการขอขมาโทษ
 การขอขมาโทษ คือ การขอให้ผู้อื่นยกโทษให้กับตนในสิ่งที่ตนได้กระทำผิดพลาดทำล่วงเกินไม่ว่าจะด้วยประการใดๆต่อบุคคลเหล่านั้น ไม่ได้ว่าจะ ได้กระทำลงไปโดยทางกาย วาจา หรือใจ ไม่ว่าจะมีเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ตาม เมื่อรู้สึกตัวแล้วก็ควรที่จะขอขมาโทษ เพื่อให้ผู้ที่ตนล่วงเกินนั้นได้ยกโทษหรืออโหสิกรรมให้ และทำให้วิบากกรรมที่ตนได้เคยล่วงเกินนั้น กลายเป็น "อโหสิกรรม" และไม่ตามไปส่งผลอีก
ในพระไตรปิฎก  เมื่อมีการล่วงเกินกันและกัน ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ  การขอขมาโทษก็เพื่อต้องการที่จะให้มีการสำรวมระวังในกาลครั้งต่อๆไป จะได้ไม่ทำผิดพลาดขึ้นอีก 
การขอขมาโทษหรือขออโหสิกรรมจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่งเพราะเราไม่รู้หรอกว่าได้เคยทำอะไรไม่ดีกับใครไว้บ้างหรือเคยล่วงเกินใครไว้บ้างแต่ถ้าเรารู้ก็ควรที่จะขอขมาโทษและขออโหสิกรรม เพื่อไม่ให้วิบากกรรมนั้นตามมาส่งผลได้อีก ถือเป็นการตัดวงจรของวิบากกรรมนั้นๆไปได้ สิ่งที่ทำมันไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อคนอื่น แต่มันเกิดประโยชน์ต่อตัวของเราเองดังนั้นโดยอย่ามองผ่านในเรื่องนี้เพราะกฎแห่งกรรมไม่เคยปราณีใคร
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก :  Fb ดร.แม็ก ภัคสิษฐ์

เรื่องเล่าจากอีสป...ตอน จับผิดคนอื่น!!

เรื่องเล่าจากอีสป...ตอน จับผิดคนอื่น!!

คนส่วนใหญ่มักจะมองแต่เห็นแต่ความผิดของคนอื่น แต่สำหรับความผิดของตนเองนั้นกับมองไม่เห็น ดังนั้นคนโดยส่วนใหญ่แล้วก็มักจะโทษแต่คนอื่นว่าไม่ดีอย่างนั้นไม่ดีอย่างนี้ คอยแต่ที่จะจับผิดคนที่ตนมองเห็นอยู่เบื้องหน้าของตน  แต่ไม่เคยหันมาจับผิดหรือมองตัวเอง แต่เราก็มักที่จะให้อภัยตนเองได้ง่าย ถึงแม้ว่าความผิดน้ั้นจะร้ายแรงสักเพียงใดก็ตาม แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเรากับมองแต่คนอื่นว่าวันนี้เขาไปทำความผิดอะไรมา เมื่อรู้ความผิดที่คนนั้นทำมาแล้วก็มักที่จะ ไม่รู้จักที่จะให้อภัยคนตรงกันข้ามกับมองเขาไปในทางที่ไม่ดีอีกด้วย
@canada.com
จากที่นิทานอีสปเรื่องหนึ่งเขียนไว้ว่า
เมื่อครั้งที่โปรเมทีอูสมนุษย์เสกให้มีในโลก
เขาแขวนถุง2 ถุงไว้ที่คอของมนุษย์ ข้างหน้าถุงหนึ่ง ข้างหลังถุงหนึ่ง
ถุงข้างหน้าใส่ความบกพร่องของผู้อื่นไว้เต็มถุง
ส่วนถุงข้างหลังใส่ความบกพร่องของตัวเองไว้เต็มเช่นกัน
เพราะเหตุนี้มนุษย์จึงมองเห็นแต่ความผิดพลาดของผู้อื่นได้ชัดเจน
แต่มองไม่เห็นข้อบกพร่องหรือความผิดพลาดของตนเองเลย
ดังนั้น มนุษย์จึงมีนิสัยชอบจับผิดข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องของผู้อื่น แต่กับมองไม่เห็นข้อผิดพลาดหรือข้องบกพร่องของตนเอง เรื่องนี้เป็นนิทานที่เอามาเปรียบเปรยกับมนุษย์ที่มองข้ามความดีของคนอื่น พยายามมองหาแต่จุดบกพร่องของคนอื่นเหมือนจะเป็นจุดเล็กๆก็เอามาเป็นความผิดได้ ตรงกันข้าม ตนเองกับมองข้ามข้อผิดพลาดของตนเองนั้นไป แม้จะรู้ว่าตัวเองได้ทำอะไรผิดพลาดลงไปยังไงก็ยังให้อภัยตนเองได้เสมอ
@medium.com
อย่ามองแต่ข้อบกพร่องของคนอื่นมากเกินไป จนลืมไปว่าตนเองก็ยังมีข้อบกพร่องนั้นอยู่ เพราะใส่ใจกับคนอื่นมากเกินไป จนลืมที่จะใส่ใจตนเอง คนเหล่านี้จะไม่สามารถที่จะแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงนิสัยของตัวเองให้ดีขึ้นไปได้ เพราะมองไม่เห็นข้อผิดพลาดของตนเอง เมื่อมองไม่เห็นข้องผิดพลาดของตัวเองแล้วการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงและยอมรับฟังความคิดเห็นหรือคำแนะนำตักเตือนของผู้อื่นนั้นก็ย่อมเป็นไปได้ยากไป
ขอบคุณที่มาของ : หนังสือ "อ่านจิตวิทยา อ่านคน อ่านเรื่องเล่าจากอีสป"

วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2561

เหตุใด!!พระโมคัลลานเถระ ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นเอตทัคคะด้านมีฤทธิ์มากแต่กับต้องละโลก(นิพพาน)เพราะถูกโจรรุมทำร้าย

เหตุใด!!พระโมคัลลานเถระ ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นเอตทัคคะด้านมีฤทธิ์มากแต่กับต้องละโลก(นิพพาน)เพราะถูกโจรรุมทำร้าย


วิบากกรรมไม่เคยละเว้นใคร แม้แต่ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระสัมมาสัมเจ้า และเป็นเอตทัคคะด้านมีฤทธิ์มากก็ตาม เมื่อได้ทำกรรมใดไว้วิบากกรรมนั้นก็จะตามมาส่งผล ไม่ช้าก็เร็วไม่มีใครหนีกฎแห่งกรรมนี้ไปได้ ยิ่งกรรมที่ได้กระทำไว้กับบุพการีหรือผู้มีพระคุณด้วยแล้วถือว่าเป็นกรรมหนักมาก ยากที่จะหนีพ้นวิบากกรรมนี้ไปได้ พระโมคัลลานะก็เช่นเดียวกัน  ถึงแม้ว่าท่านจะเป็นผู้ที่มีฤทธิ์ แต่เมื่อวิบากกรรมตามมาส่งผลก็ทำให้ท่านต้องมานิพพานด้วยน้ำมือของโจรป่า ทั้งๆที่ท่านเองก็มีฤทธิ์สามารถ เหาะเหินเดินอากาศได้ แต่ด้วยวิบากกรรมที่เคยทำกับพ่อแม่ในอดีตทำให้ท่านต้องมานิพพานเพราะเงื้อมมือของโจร ซึ่งเรื่องมีอยู่ว่า
ในอดีตชาติ "พระมหาโมคคัลลานเถระ" เกิดเป็นลูกคนเดียวของพ่อแม่ ต่อมาเมื่อเจริญเติบโตขึ้นพ่อแม่ทั้งสองประสบเคราะห์กรรมตาบอดด้วยกันทั้งสองคนเป็นภาระที่ลูกชายคนเดียวต้องปรนนิบัติเลี้ยงดู การงานทุกอย่างทั้งนอกบ้านในบ้านลูกชายจัดการเป็นที่เรียบร้อย พ่อแม่ทั้งสองมิต้องกังวล ต่อมาพ่อแม่เห็นลูกชายอยู่ในวัยที่สมควรจะมีครอบครัวได้แล้ว จึงจัดการสู่ขอหญิงสาวที่มีชาติตระกูลใกล้เคียงกัน ให้มาแต่งงานเป็นคู่ของลูกชายทั้ง ๆ ที่ลูกชายมิได้เต็มใจ เพราะตนเองผู้เดียวก็สามารถปฏิบัติเลี้ยงดูบิดามารดาได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อบิดามารดาเป็นภาระจัดการให้แล้วก็ไม่ขัดความประสงค์ของท่าน
เมื่อแต่งงานแล้ว ชีวิตครอบครัวที่มีลูกสะใภ้พ่อผัวแม่ผัวอยู่ร่วมกันมาในระยะแรก ๆ ก็ราบรื่นสงบสุขเป็นอย่างดีเมื่อกาลเวลาผ่านนาน ๆ ไป ลูกสะใภ้ก็เริ่มรังเกียจพ่อผัวแม่ผัวที่ตาบอดด้วยกันทั้งสองคน จึงหาวิธีกำจัดท่านทั้งสองด้วยการยุแหย่สามีให้เกลียดชังพ่อแม่ คือ เมื่อสามีออกทำงา้นนอกบ้านก็แกล้งทำบ้านเรือนให้สกปรกรกรุงรัง เมื่อสามีกลับมาก็ฟ้องว่าพ่อแม่ทั้งสองเป็นผู้กระทำ ตนเองไม่สามารถที่จะทนเห็นทนอยู่ผู้เฒ่าตาบอดทั้งสองคนนี้ได้อีกต่อไปแล้ว
ระยะแรก ๆ สามีก็ไม่ค่อยเชื่อเท่าไรนักได้แต่รับฟังแล้วก็นิ่งเฉยแต่เมื่อภรรยาพูดบ่อย ๆ และเห็นบ้านเรือนสกปรกมากยิ่งขึ้นจึงเชื่อคำของภรรยา และได้ปรึกษากันว่าจะทำอย่างไรกับคนแก่ตาบอดทั้งสองคนนี้ดี เอาท่านใส่เกวียนไปฆ่าทิ้งในป่า ภรรยาเสนอความคิดเห็น สามีแม้จะไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ เพราะตนเป็นคนรักและกตัญญูต่อพ่อแม่มาตลอดแต่เมื่อภรรยารบเร้าไม่รู้จบสิ้น จึงใจอ่อนยอมทำตามที่ภรรยาแนะนำ รุ่งเช้า ได้จัดหาอาหารเลี้ยงดูพ่อแม่เป็นอย่างดีแล้วกล่าวว่า“ข้าแต่คุณพ่อคุณแม่ ญาติที่หมู่บ้านโน้นต้องการให้คุณพ่อคุณแม่ไปเยี่ยมพวกเราไปกันในวันนี้เถิด”ลูกชายให้พ่อแม่นั่งบนเกวียนแล้วออกเดินทาง พอมาถึงกลางป่าส่งเชือกบังคับโคให้พ่อถือไว้แล้วพูดหลอกว่า “คุณพ่อจับปลายเชือกนี้ไว้ โคจะลากเกวียนไปตามทางนี้ ทราบว่าในป่านี้มีพวกโจรซุ่มอยู่ ลูกจะลงเดินตรวจดูโดยรอบ
เมื่อลงเดินได้สักครู่หนึ่ง ก็เปลี่ยนเสียงร้องตะโกนประหนึ่งว่าเสียงโจรดักซุ่มอยู่ แล้วเข้ามาทุบตีทำร้ายบิดามารดา ฝ่ายบิดามารดาเชื่อว่าเป็นโจรจริง ๆ แม้จะถูกทุบตีอยู่ก็ยังร้องบอกให้ลูกรีบหนีไป พ่อแม่แก่แล้วไม่ต้องเป็นห่วง ลูกจงรักษาชีวิตไว้เถิด ลูกชายพอได้ยินเสียงมารดาบิดาร้องบอกให้รีบหนีไปไม่ต้องเป็นห่วงพ่อแม่ ก็กลับคิดไม่ได้ว่า “ตนทำกรรมหนัก พ่อแม่แม้จะถูกเราทุบตีอยู่นี้ ก็ยังร้องคร่ำครวญด้วยความรักและห่วงใยให้เรารีบหนีไปโดยมิได้คำนึงถึงชีวิตของตนเง ” แม้บิดามารดาจะร้องอยู่เช่นนี้ เขาก็ยังกระทำเสียงโจร และทุบบิดามารดาให้ตาย แล้วจึงโยนทิ้งไปในดงแล้วกลับมา
ด้วยวิบากกรรมนี้จึงทำให้ ลูกชาย เมื่อตายแล้วต้องชดใช้กรรมในนรกเป็นเวลานาน เมื่อพ้นจากนรกแล้วมาเกิดใหม่ ต้องถูกทุบตีจนแหลกละเอียดอีกหลายร้อยชาติ ในชาติสุดท้ายนี้แม้จะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ มีฤทธิ์ สามารถจะดำดินล่องหนหายตัวได้ เหาะเหินเดินอากาศได้ แต่ก็ไม่สามารถจะหนีผลกรรมได้ ท่านจึงยอมให้พวกโจรจับทุบจนร่างแหลกเหลวดังกล่าวมานั่นเอง
บุพการีถือว่าเป็นผู้ที่มีพระคุณต่อเรา เป็นผู้ให้ชีวิตแก่เรามา ถ้าเราไม่มีท่านทั้งสอง เราก็ไม่สามารถเกิดมาเป็นมนุษย์ได้ ดังนั้นพระคุณของท่านมากมายยากที่จะตอบแทนได้หมด ดั่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้ ดังนี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอุปมาถึงพระคุณของบุพการีไว้ว่า  "ถ้าบุตรจะพึงวางบิดามารดาไว้บนบ่าทั้งสองของตน
ประคับประคองท่านอยู่บนบ่านนั้น ป้อนข้าวป้อนน้ำและให้ท่านถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่านั้นเสร็จ
แม้บุตรจะมีอายุถึง ๑๐๐ ปี และปรนนิบัติท่านไปจนตลอดชีวิต ก็ยังนับว่าตอบแทนพระคุณท่านไม่หมด"​
[caption id="attachment_4123" align="alignnone" width="800"] @kapook.com[/caption]ยังมีผู้อุปมาไว้ว่า หากเราใช้ท้องฟ้าแทนกระดาษ ยอดเขาพระสุเมรุแแทนปากกาน้ำในมหาสมุทรแทนหมึก
เขียนบรรยายคุณของพ่อแม่ จนท้องฟ้าเต็มไปด้วยอักษร ภูเขาสึกกร่อนจนหมด น้ำในมหาสมุทรเหือดแห้งก็ยังบรรยายคุณของพ่อแม่ไม่หมด ​เช่นเดียวกัน
พ่อแม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ของบุตร  คือ
๑.เป็นต้นฉบับทางกาย  เป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำให้ของทั้งหลายในโลกมีค่าสูงขึ้น ​
[caption id="attachment_4124" align="alignnone" width="800"] @teenee.com[/caption]ตัวอย่าง  ก้อนดินเหนียวธรรมดา ถ้าหากนำมาใส่แบบพิมพ์แล้วพิมพ์เป็นตุ๊กตา
ก็ทำให้ดินก้อนนั้นมีค่าขึ้นมาเป็นเครื่องประดับบ้านเรือนได้ดินเหนียวก้อนเดียวกันนี้
หากได้แบบที่ดีกว่าขึ้นมาอีกเช่นแบบเป็นพระพุทธรูปก็จะเห็นได้ว่าคุณค่าของดินเหนียวก้อนนี้ทรงคุณค่ามากยิ่งขึ้น
ผู้คนได้กราบไหว้บูชา จะเห็นได้ว่าคุณค่าของดินเหนียวก้อนนี้ขึ้นอยู่กับแแบบที่พิมพ์นั่นเอง ​
ในทำนองเดียวกัน การเกิดของสัตว์ เช่นเป็น ช้าง มัา วัว ควาย ฯลฯ
แม้จะมีปัญญาติดตัวมามากสักปานใดก็ไม่สามารถทำความดีได้เต็มที่ โชคดีที่เราได้แบบเป็นคน
ซึ่งเป็นโครงร่างที่ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลาย เหมาะในการทำความดีทุกประการ
พระคุณของพ่อแม่ในการเป็นต้นแบบทางกายให้เรา ก็นับว่ามีมากเหลือหลายแล้วยิ่งท่านอบรม
เลี้ยงดูเรามาเป็นต้นแบบทางใจให้ด้วย ก็ยิ่งมีพระคุณมากเป็นอเนกนันต์ ​
๒.เป็นต้นแบบทางใจ ให้ความอุปการะเลี้ยงดู ฟูมฟัก ทะนุถนอมอบรมสั่งสอน ปลูกฝังกิริยามารยาท
ให้ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมแก่ลูก ​
[caption id="attachment_4125" align="alignnone" width="800"] @med.mahidol.ac.th[/caption]พ่อแม่ได้ชื่อว่า เป็นพรหมของลูก เป็นเทวดาคนแรกของลูก เป็นครูคนแรกของลูก และเป็นพระอรหันต์ของลูก ซึ่งจะอธิบายได้ดังนี้
พ่อแม่เป็นพรหมของลูก เพราะเหตุที่มีพรหมธรรม ๔ ประการ ได้แก่
๑. มีเมตตา คือ มีความปรารถนาดีต่อลูกไม่มีที่สิ้นสุด
๒. มีความกรุณา คือ หวั่นใจในความทุกข์ของลูกและคอยช่วยเหลือเสมอไม่ทอดทิ้ง
๓. มีมุทิตา คือ เมื่อลูกมีความสุขสบาย ก็มีความปลาบปลื้มยินดีด้วยความจริงใจ
๔. มีอุเบกขา คือ เมื่อลูกมีครอบครัวสามารถเลี้ยงตนเองได้แล้ว ก็ไม่วุ่นวายกับชีวิตครอบครัวลูกจนเกินงาม และหากลูกผิดพลาดก็ไม่ซ้ำเติม แต่กลับคอยเป็นที่ปรึกษา ให้เมื่อลูกต้องการ
พ่อแม่เป็นเทวดาคนแรกของลูก เพราะคอยปกป้องคุ้มกันภัยเลี้ยงดูลูกมาก่อนผู้มีความปรารถนาดีคนอื่น ๆ
พ่อแม่เป็นครูคนแรกของลูก เพราะสั่งสอนอบรม คำพูดและกิริยามารยาทให้ลูกก่อนคนอื่น ๆ
พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก เพราะมีคุณธรรม ๔ ประการ ได้แก่
๑. เป็นผู้มีอุปการะมากแก่ลูก ท่านได้ทำภารกิจอันทำได้แสนยาก ได้แก่การอุปการะเลี้ยงดูลูก ซึ่งยากที่จะหาคนอื่นทำแก่เราได้อย่างท่าน
๒. เป็นพระเดชพระคุณมาก ปกป้องอันตราย ให้ความอบอุ่นแก่ลูกมาก่อน
๓. เป็นเนื้อนาบุญของลูก มีความบริสุทธิ์ใจต่อลูกอย่างแท้จริงเป็นผู้ที่ลูกควรทำบุญต่อตัวท่าน
๔. เป็นอาหุไนยบุคคล เป็นผู้ควรแก่การรับของคำนับ และการนมัสการของลูก
จากที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ เมื่อครั้นพระโมคคัลลานะอดีตชาติ ได้ลวงพ่อแม่ไปฆ่า เพราะเชื่อคำของภรรยา โดยแกล้งทำตัวเป็นโจรมาปล้น พ่อแม่ของท่านก็ไม่เคยห่วงชีวิตของตนเอง แต่กับตะโกนบอกให้ลูกของตนหนีไป นี่แสดงให้เห็นว่าความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกแม้ชีวิตก็ยอมสละให้ลูกได้  ดังนั้นที่กล่าวไว้ว่าพ่อแม่เป็นพรหมของลูก , พ่อแม่เป็นเทวดาคนแรกของลูก , พ่อแม่เป็นครูคนแรกของลูก , พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่่ได้มีการเปรียบเทียบแบบนี้
เมื่อรู้ถึงพระคุณของพ่อแม่ว่ามีมากมายเพียงใดลูกจึงควรมีคุณธรรมต่อท่าน คุณธรรมของลูกเริ่มที่รู้จักคุณพ่อแม่ คือ "รู้ว่าท่านดีต่อเราอย่างไร " และสิ่งที่ต้องทำต่อมาก็คือ "การตอบแทนคุณของท่าน "
ในทางพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสบรรยายคุณธรรมของลูกไว้อย่างสั้น ๆ แต่จับความไว้ได้อย่างครบถ้วน คือคำว่า "กตัญญู กตเวที"ซึ่งคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นลูกรวมอยู่ใน ๒ คำนี้
กตัญญู หมายถึง "เห็นคุณท่าน " คือ "เห็นด้วยใจ ด้วยปัญญา  " ว่าท่านเป็นผู้มีพระคุณต่อเราอย่างแท้จริง ไม่ใช่สักแต่ว่าปากท่องพระคุณพ่อแม่เพียงอย่างเดียว
[caption id="attachment_4133" align="alignnone" width="800"] @tongkiddee.wordpress.com[/caption]คุณของพ่อแม่ดูได้จากอุปการะ คือ ประโยชน์ที่ท่านทำแก่เรามีอะไรบ้างที่แตกต่างจากคนอื่น ตามธรรมดาของคนทั่ว ๆ ไป เมื่อจะอุปการะใครเขาต้องเห็นทางได้ เช่น เห็นหลักทรัพย์ หรือดูนิสัยใจคอ ต่อเมื่อแน่ใจแล้วว่าอุปการคุณของเขาจะไม่สูญเปล่า จึงลงมือช่วยเหลือ
แต่ที่พ่อแม่อุปการะเรานั้นเป็นการอุปการะโดยบริสุทธิ์ใจจริง ๆ ไม่ได้มองถึงหลักประกันใด ๆ เลย
เราเองก็เกิดมาตัวเปล่าไม่มีหลักทรัพย์แม้แต่เข็มเล่มเดียวยัง ไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่าอวัยวะร่างกายจะใช้ได้ครบถ้วนหรือไม่
ยิ่งนิสัยใจคอแล้วยิ่งรู้ไม่ได้เอาทีเดียว โตขึ้นมาจะเป็นอย่างไร จะเป็นคนอกตัญญูหรือไม่ไม่รู้ทั้งนั้น "หนังสือสัญญาการรับปากสักคำเดียวระหว่างเรากับท่านก็ไม่มี" แต่ทั้ง ๆที่ไม่มีท่านทั้งสองก็ได้โถมตัวเข้าช่วยเหลือเราจนสุดชีวิต ที่ยากจนก็ถึงกับกู้หนี้ยืมสินคนอื่นมาช่วย เรื่องเหล่านี้ต้องคิดดูด้วยเหตุผลอย่าสักแต่คิดด้วยอารมณ์เท่านั้น การพิจารณาให้เห็นคุณของพ่อแม่ด้วยใจอย่างนี้แหละเรียกว่า"กตัญญู" เป็นคุณธรรมเบื้องต้นของผู้เป็นลูก ยิ่งพิจารณาเห็นคุณท่านมากเท่าไร แสดงว่าใจของเราเริ่มใสและสว่างมากขึ้นเท่านั้น
กตเวที หมายถึง "การทดแทนพระคุณของท่าน  " ซึ่งมีงานที่ต้องทำ ๒ ประการ คือ
1.การประกาศคุณท่าน หมายถึง การทำให้ผุ้อื่นรู้ว่า พ่อแม่มีคุณแก่เราอย่างไรบ้าง มากน้อยเพียงใด
เรื่องนี้มีคนคิดทำอยู่มากเหมือนกัน แต่ส่วนมากไปทำตอนงานศพ คือ เขียนประวัติสรรเสริญคุณพ่อแม่ในหนังสือแจก
การกระทำเช่นนี้ก็ถูก แต่ถูกเพียงเปลือกนอกผิวเผินนัก ถ้าเป็นการกินผลไม้ก็แค่เคี้ยวเปลือกเท่านั้น
ยังมีทำเลที่จะประกาศคุณพ่อแม่ที่สำคัญกว่านี้ คือ ที่ตัวเรานี่เอง
คนเราทุกคน คือ "ตัวแทน" ของพ่อแม่ตนทั้งนั้น เลือดก็แบ่งมาจากท่านเนื้อก็แบ่งมาจากท่าน
ตลอดจนนิสัยใจคอก็ได้รับการอบรมถ่ายทอดมาจากท่าน ความประพฤติของตัวเรานี่แหละจะเป็นเครื่องประกาศคุณพ่อแม่อย่างโจ่งแจ้งที่สุด หากพิมพ์ข้อความไว้ในหนังสือแจกว่าคุณพ่อคุณแม่เป็นคนตั้งอยู่ในศีลในธรรม แต่ตัวเราเองประพฤติสำมะเลเทเมา คอร์รัปชั่นทุกครั้งที่มีโอกาสศีลข้อเดียวก็ไม่สนใจรักษา ก็ผิดที่ไป สดุดีคุณพ่อแม่ว่าเป็นคนดี สุภาพเรียบร้อยแต่ตัวเราผู้เป็นลูกกลับประพฤติตัวเป็นนักเลงอันธพาล
อย่างนี้คุณค่าของการสรรเสริญพ่อแม่ก็ลดน้ำหนักลง
[caption id="attachment_4128" align="alignnone" width="800"] @thairath.co.th[/caption][caption id="attachment_4129" align="alignnone" width="800"] @thairath.co.th[/caption]กลายเป็นว่ามอบหน้าที่ในการกตเวทีประกาศคุณพ่อแม่ให้หนังสือทำแทน ให้กระดาษ ให้เครื่องพิมพ์
ให้ช่างเรียงพิมพ์แสดงกตเวทีแทน แล้วตัวเรากลับประจานพ่อแม่ของตัวเอง อย่างน้อยที่สุดก็ประจานแก่ชาวบ้านว่าพ่อแม่ของเราเลี้ยงลูกไม่เป็นประสา
[caption id="attachment_4130" align="alignnone" width="800"] @dek-d.com[/caption]พ่อแม่ของใครใครก็รัก เมื่อรักท่านก็ประกาศคุณความดีของท่านซิประกาศด้วยความดีของตัวเราเองตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ยิ่งท่านยังมีชีวิตอยู่ การประกาศคุณของเราจะทำให้ท่านมีความสุขใจอย่างยิ่ง ส่วนใครจะประพันธ์สรรเสริญคุณพ่อแม่พิมพ์แจกเวลาท่านตายแล้ว นั่นเป็นประเด็นเบ็ดเตล็ดจะทำก็ได้ไม่ทำก็ไม่เสียหายอะไรไม่ว่าเราจะตั้งใจประกาศคุณท่านหรือไม่ ความประพฤติของเราก็เป็นตัวประกาศคุณท่านหรือประจานท่านอยู่ตลอดเวลา คิดเอาเองก็แล้วกันว่าเราจะประกาศคุณพ่อแม่ของเราด้วยเกียรติยศชื่อเสียง หรือจะใจดำถึงกับประจานผู้บังเกิดเกล้าด้วยการทำตัวเป็นพาลเกเรและประพฤติต่ำทราม
2. การตอบแทนคุณท่าน เมื่อ
๑.ท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็ช่วยเหลือกิจการงานของท่านเลี้ยงดูท่านตอนเมื่อยามท่านชรา ดูแลปรนนิบัติการกินอยู่ของท่านให้สะดวกสบายและเอาใจใส่ช่วยเหลือเมื่อท่านเจ็บป่วย
๒.ท่านล่วงลับไปแล้ว ก็จัดพิธีศพให้ท่าน และทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่านอย่างสม่ำเสมอ
แม้เราจะตอบแทนพระคุณท่านถึงเพียงนี้แล้ว ก็ยังนับว่าเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับพระคุณอันยิ่งใหญที่ท่านมีต่อเรา
[caption id="attachment_4126" align="alignnone" width="800"] @dmc.tv[/caption]ผู้ที่มีความกตัญญูกตเวทีต้องการจะสนองพระคุณท่านให้ได้ทั้งหมด พึงกระทำดังนี้
๑.ถ้าท่านยังไม่ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ก็พยายามชักนำให้ท่านตั้งอยู่ในศรัทธาให้ได้
๒.ถ้าท่านยังไม่ถึงพร้อมด้วยการให้ทาน ก็พยายามชักนำให้ท่านยินดีในการบริจาคทานให้ได้
๓.ถ้าท่านยังไม่มีศีล ก็พยายามชักนำให้ท่านรักษาศีลให้ได้
๔.ถ้าท่านยังไม่ทำสมาธิภาวนา ก็พยายามชักนำให้ท่านทำสมาธิภาวนาให้ได้
เพราะว่าการตั้งอยู่ในศรัทธาการให้ท่าน การรักษาศีล การทำสมาธิภาวนา เป็นประโยชน์โดยตรง และเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ตัวบิดามารดาผู้ประพฤติปฏิบัติเองทั้งในภพนี้ ภพหน้า และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งคือ เป็นหนทางไปสู่พระนิพพาน
[caption id="attachment_4131" align="alignnone" width="800"] @pirayod.blogspot.com[/caption]เมื่อพระคุณของพ่อแม่มีมากมายขนาดนี้ การที่ลูกไม่ยอมเลี้ยงดูท่านยามที่ท่านแก่เถ้า ทำร้ายทุบตีท่าน หรือที่ร้ายกว่านั้นคือทำปิตุฆาตท่าน ถือว่า "เป็นคนเนรคุณ เป็นคนอกตัญญู" คนเหล่านี้ถือว่าเป็นพวกหนักแผ่นดิน ดังที่ได้มีการกล่าวเปรียบเปรยไว้ว่า
"ต้นไม้ที่ได้รับการดูแลให้น้ำให้ปุ๋ย ไปบำรุงลำต้นจนสมบูรณ์ เมื่อถึงเวลา ไม่ยอมออกดอกออกผล ก็ต้องโค่นทิ้ง"
"คนที่ได้รับการเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ แต่ไม่ยอมตอบแทนคุณพ่อแม่ก็เป็นคนหนักแผ่นดิน" 
"ทองคำแท้หรือไม่โดนไฟก็รู้ คนดีแแท้หรือไม่ ให้ดูตรงที่เลี้ยงพ่อแม่ ถ้าดีจริง ต้องเลี้ยงพ่อแม่ ถ้าไม่เลี้ยง แสดงว่าดีไม่จริง เป็นพวกทองชุบ ทองเก๊"
 ​คนที่ได้ชื่อว่าเป็นคนเนรคุณคน เป็นคนอกตัญญู หรือเป็นลูกทรพี ( ทำปิตุฆาตพ่อแม่ ) จะไม่มีทางที่จะเจริญรุ่งเรืองได้ ไม่ว่าจะเป็นในด้านหน้าที่การงาน ค้าขาย หรือประกอบกิจการใดๆก็ตาม เพราะในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นกรรมหนัก และผลกรรมเหล่านี้จะมาบีบคั้นไว้ ทำให้เราทำอะไรก็ไม่มีทางที่จะประสบความสำเร็จได้ และผลกรรมหรือวิบากกรรมเหล่านี้ก็จะติดตามตัวเราไปทุกภพทุกชาติ เช่นเดียวกันกับที่พระโมคคัลลานเถระ แม้จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีฤทธิ์มากแต่ก็ต้องปรินิพพานด้วยเงื้อมมือของโจรเพราะวิบากกรรมที่ได้ทำกับบิดามารดาของตนในอดีตชาติ ดังนั้นคำว่า"กฎแห่งกรรม"ไม่มีทางปราณีใคร ใครทำอะไรไว้ก็ย่อมได้รับผลกรรมนั้นกลับคืน
พระโมคคัลลานะ ในอดีตชาติก็มีความกตัญญูต่อพ่อแม่ ต่อด้วยความที่อยู่ใกล้กับคนพาลหรือคบคนพาล ทำให้ตนหลงผิดไป จากคนที่มีความกตัญญูกับกลายมาเป็นคนอกตัญญูไปเพราะการคบคน

จากบท ความดังกล่าวมานี้ นอกจากจะได้ทราบถึงความสำคัญของความกตัญญูแล้ว การเลือกคบคนก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิตของเราด้วยคือ ถ้าคบคนดีก็จะทำให้ชีวิตของเราประสบแต่ความสุขและความสำเร็จ แต่เมื่อไร ที่คนที่เราคบเป็นคนพาล เมื่อนั้นชีวิตของเราก็จะปราศจากความสุขและความสำเร็จในชีวิตได้เช่นเดียวกัน
ขอบคุณที่มา : freehostingguru.compalungjit.org , wikipedia.org

วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ทำไมการทอดกฐินจึงจัดเป็นมหากาลทานที่ยิ่งใหญ่

ทำไมการทอดกฐินจึงจัดเป็นมหากาลทานที่ยิ่งใหญ่
การทอดกฐินเป็นมหากาลทานครั้งยิ่งใหญ่ของชาวพุทธ ที่ชาวพุทธทั่วโลกให้ความสำคัญกันเป็นอย่างมาก เมื่อถึงกำหนดเวลาในการทอดกฐินชาวพุทธไม่ว่าจะอยู่ในแห่งหนตำบลใด หรืออยู่ในประเทศใดเมื่อถึงเวลาทุกคนต่างก็พยายามที่จะหาเวลามาทำบุญที่วัดหรือสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา การทอดกฐินมีสำคัญอย่างไรทำไมถึงชาวพุทธถึงให้ความสำคัญกับการทอดกฐินมากกว่าวันอื่นๆ เรามาดูประวัติความสำคัญของการทอดกฐินกันบ้างครับ
ประวัติความเป็นมาของการทอดกฐิน
สมัยหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ จำนวน 30 รูป เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วัดพระเชตวัน แต่เมื่อถึงเมืองสาเกตุยังไม่ทันถึงกรุงสาวัตถีก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน จึงต้องเข้าจำพรรษาในระหว่างทาง ในระหว่างนั้น ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐมีใจระลึกถึงพระพุทธองค์ว่า “เราแม้อยู่ห่างจากสาวัตถีเพียงหกโยชน์ แต่พวกเรากลับไม่ได้เข้าเฝ้าพระองค์”
ครั้นล่วงสามเดือนแล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้ทำการปวารณาซึ่งกันและกันในวันมหาปวารณา ในตอนนั้นแม้ออกพรรษาแล้ว แต่ฝนยังตกอยู่ พื้นดินชุ่มไปด้วยน้ำและโคลน ภิกษุเหล่านั้นรีบเร่งเดินทางเพื่อไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทำให้สบงจีวรที่ท่านนุ่งห่มเปียกปอนเปรอะเปื้อนและเปื่อยขาด กว่าจะเดินทางมาถึงวัดพระเชตวันก็ได้รับความลำบากเป็นอย่างมาก ครั้นถึงวัดพระเชตวันแล้ว ยังมิทันได้พักเลย ภิกษุเหล่านั้นก็รีบเข้าไปกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งจีวรที่ชุ่มไปด้วยน้ำ เปรอะเปื้อนไปด้วยดินโคลน      พระพุทธองค์ทรงตรัสถามภิกษุเหล่านั้นในเรื่องความเป็นอยู่และสุขภาพร่างกายว่า “จำพรรษากันผาสุกดีอยู่หรือ ทะเลาะวิวาทกันบ้างหรือไม่ อาหารบิณฑบาตพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ”
ภิกษุทั้งหลายได้ทูลตอบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า จำพรรษาด้วยความผาสุก พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ ยังมีความพร้อมเพรียงกัน ไม่ทะเลาะวิวาทกันและไม่ลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต" 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นจีวรของภิกษุทั้งหลายเก่าและขาด จึงทรงมีพุทธานุญาตให้รับผ้ากฐินได้ แต่ต้องอยู่ภายในระยะเวลาสั้นๆ เพียงหนึ่งเดือนหลังจากออกพรรษาแล้ว โดยให้ภิกษุที่ได้รับผ้ากฐินแล้วได้อานิสงส์ 5 ประการ คือ
1.เที่ยวไปสู่ที่สงัด เพื่อแสวงหาที่ปฏิบัติธรรมได้ตามสะดวก โดยไม่ต้องบอกลา
2.เที่ยวไปได้ โดยไม่ต้องนำผ้าไตรจีวรไปครบสำรับ
3.ฉันคณะโภชนะได้ คือ ฉันภัตตาหารร่วมโต๊ะหรือร่วมวงฉันด้วยกันได้
4.ทรงอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา คือ รับผ้าจีวรได้มากผืน
5.จีวรที่เกิดขึ้น ณ ที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ คือ หากได้ผ้าจีวรมาเพิ่มอีก ก็สามารถเก็บไว้ใช้ได้ไม่ต้องเข้าส่วนกลาง
เมื่อพระสัมมาสัมพุุทธเจ้าพระองค์ทรงเห็นถึงความลำบากของพระภิกษุสงฆ์ที่สบงจีวรที่ท่านนุ่งห่มเปียกปอนเปรอะเปื้อนและเปื่อยขาดในระหว่างที่เดินทางมาเพื่อเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและไม่มีผ้าสงบจีวรผลัดเปลี่ยน ทำไมพระพุทธองค์พุทธานุญาตให้สามารถรับผ้ากฐินจากผู้ที่มีจิตศรัทธานำมาถวายได้และมีกำหนดให้รับได้ภายในหนึ่งเดือนนัจากวันออกพรรษา

"กฐินทาน" คือ การถวายผ้าให้แก่พระภิกษุสงฆ์ผู้ได้ดำรงตนอยู่ในกรอบแห่งศีล สมาธิ(Meditation) และปัญญาผ่านการอยู่จำพรรษาตลอดฤดูฝน ณ อารามใดอารามหนึ่ง นับว่าเป็นกาลทานอันยิ่งใหญ่ ย่อมก่อให้เกิดอานิสงส์มากมายแก่ผู้ทอดถวาย
การทอดกฐิน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ไม่จัดเป็นการทอดกฐิน แต่ก็มีข้อยกเว้นไว้ว่า ถ้าทายกผู้จะทอดกฐินนั้น มีกิจจำเป็น เช่น จะต้องไปในทัพ ไม่สามารถจะอยู่ทอดกฐินตามกำหนดนั้นได้ จะทอดกฐินก่อนกำหนดดังกล่าวแล้วพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงอนุญาตให้ภิกษุรับไว้ก่อนได้
การทอดกฐินยังเป็นทานพิเศษ คือ ทั้งพระภิกษุและญาติโยมผู้ทอดกฐินได้อานิสงส์ด้วยกัน การทอดกฐินจึงเป็นบุญใหญ่ ที่ผู้ให้ (คฤหัสถ์) และผู้รับ (พระภิกษุสงฆ์) ต่างก็ได้บุญทั้ง 2 ฝ่าย
สาเหตุที่เรียกกันว่าเป็นการทอดกฐินนั้นมาจาก
การน้อมนำผ้าจีวรมาวางทอดลง เพื่อถวายแด่ภิกษุสงฆ์ มิได้เจาะจงแก่ภิกษุรูปใด เทศกาลทอดกฐินจะเรียกอีกแบบ คือ ฤดูกาลเปลี่ยนผ้าใหม่ของพระภิกษุ โดยในอดีตกาล ยุคต้นที่พระพุทธศาสนาเริ่มบังเกิดขึ้น ผ้าที่ภิกษุได้มานั้นเป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหรือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าห่อศพในป่าช้า หรือผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามกองหยากเยื่อ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะผ้าในยุคนั้นเป็นของมีค่าหาได้ยาก การที่ภิกษุแสวงหาผ้าที่ไม่มีผู้หวงแหน นำมาใช้นุ่งห่ม จึงแสดงถึงความสันโดษมักน้อยของนักบวชผู้มุ่งแสวงหาทางหลุดพ้นและคำว่า "กฐิน"แปลว่า "สะดึง" หมายถึง ไม้ที่ใช้สำหรับขึงผ้าให้ตึง มีทั้งรูปสี่เหลี่ยม และรูปวงกลม เมื่อขึงผ้าด้วยสะดึงแล้วจะทำให้เย็บผ้าได้ง่ายขึ้น แต่ในอีกความหมายหนึ่งนั้น หมายเอาผ้าจีวรที่ถวายแด่พระสงฆ์ที่อยู่ประจำอารามจนครบพรรษา
 
อานิสงฆ์ของการทอดกฐินที่ผู้ทอดจะได้รับมีมากมายมหาศาลเพราะเป็นบุญที่ทำได้ยากกว่าบุญอื่นๆ เนื่องจากมีข้อจำกัดไว้หลายประการ ที่ผู้ทำการทอดกฐินจะต้องยึดถือและปฏิบัติตาม ดังนี้
1.) จำกัดด้วยเวลา คือต้องถวายภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่ วันออกพรรษา
2.)จำกัดชนิดทาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอื่นไม่ได้
3.)จำกัดคราว คือ แต่ละวัดรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
4.)จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุรับกฐินได้จะต้องจำพรรษาที่วัดนั้นครบไตรมาส (3 เดือน) และจะต้องมีจำนวนตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป
5.)จำกัดงาน คือ เมื่อพระภิกษุรับผ้ากฐินแล้ว จะต้องกรานกฐินให้เสร็จภายในวันนั้น
6.)จำกัดของถวาย คือ ไทยธรรมที่ถวายต้องเป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวรเท่านั้น โดยทั่วไปนิยมใช้สังฆาฏิ ไทยธรรมอื่นจัดเป็นบริวารกฐิน เกิดจากพุทธประสงค์ พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุสงฆ์รับผ้ากฐินเพื่อพลัดเปลี่ยนไตรจีวรเก่า แต่ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้อนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาต ถวายผ้าอาบน้ำฝน
เพราะมีขอบเขตที่จำกัดอย่างนี้จึงทำให้การทอดกฐินเป็นมหาทานที่ยิ่งใหญ่ที่ชาวพุทธทุกคนต่างก็พยายามทำบุญนี้กันให้ได้ โดยการไปเสาะแสวงหาวัดต่างๆที่มีพระครบ 5 รูป ขึ้นไป เพื่อจองเป็นเจ้าภาพในการทอดกฐิน ซึ่งทุกวันนี้หาวัดที่จะมีพระครบในการรับกฐินนั้นหาได้ยากมาก เพราะวัดส่วนใหญ่ทุกวันในแต่ละวัด มีพระอย่างมากก็ไม่เกิน 2-3  รูป ทำให้ไม่สามารถรับกฐินนั้นได้ นี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมการทอดกฐินจึงจัดเป็นมหากาลทานที่ยิ่งใหญ่กว่าบุญอื่นๆ

ข้อมูลจาก:https://www.youtube.com/watch?v=QRL7R3froS8
https://goo.gl/X7M9WT

วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การอธิษฐานจิตดีอย่างไร

การอธิษฐานจิตถือว่าเป็นอธิษฐานบารมีซึ่งเป็นหนึ่งในการบำเพ็ญบารมี10ทัศ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในพระไตรปิฎกอรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค๑. พุทธาปทาน หน้าต่างที่ ๓ / ๑๑.
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านจงบำเพ็ญแม้อธิษฐานบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานที่ได้อธิษฐานไว้. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาภูเขาถูกลมพัดในทิศทั้งปวง ไม่หวั่นไหว ไม่เขยื้อน คงตั้งอยู่ในที่ของตนฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่หวั่นไหวในการอธิษฐานคือการตั้งใจมั่นของตน จักได้เป็นพระพุทธเจ้า.
ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานซึ่งอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ กระทำให้มั่นแล้ว.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
"ก็พุทธธรรมทั้งหลายจักไม่พึงมีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือก เฟ้นธรรมแม้ข้ออื่นๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ 
ในคราวนั้นเราเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงสมาทานอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ นี้ 
กระทำให้มั่นก่อน ท่านจงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้น จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้
ภูเขาหินไม่หวั่นไหว คงตั้งอยู่ตามเดิม ไม่สะเทือนเพราะลมแรงกล้า คงตั้งอยู่ในที่ของตนเอง แม้ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานในกาลทั้งปวง ถึงความเป็นอธิษฐานบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ "
ดังนั้นนอกจากจะทำบุญแล้วการอธิษฐานจิตกำกับได้ด้วยถือเป็นการตอกย้ำเป้าหมายและมโนปณิธานของเราเพื่อไปให้ถึงสิ่งที่เราได้คาดหมายไว้ ดังนั้นการอธิษฐานจิตจึงไม่ใช่เป็นเรื่องงมงายอย่างที่ใครหลายๆคนเข้าใจกัน แต่เป็นการตอกย้ำเป้าหมายของเราในการที่จะทำสิ่งนั้นให้ได้ เพื่อเป็นผังสำเร็จในการดำเนินชีวิตและประกอบหน้าที่การงานของเราสืบไป
ข้อมูลจาก:พระไตรปิฎกอรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค๑. พุทธาปทาน หน้าต่างที่ ๓ / ๑๑.
วิดีโอ:เผือกสีขาว https://www.facebook.com/whitesaranae/videos/310466016094982/

วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ความสำคัญของวันมหาปวารณา



     หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กำหนดให้มีวันมหาปวารณาขึ้นแล้ว ทำให้พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายได้โอกาสว่า และกล่าวตักเตือนกันได้ในเวลาต่อมา และพระองค์ได้ทรงกำหนดวันมหาปวารณาขึ้นในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ 
    วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะถือเป็นวันมหาปวารณา โดยพระภิกษุสงฆ์ผู้ได้อธิษฐานจำพรรษาในอารามต่าง ๆ จะพร้อมเพรียงกันกระทำสังฆกรรม ดำเนินตามแบบอย่างแห่งอริยประเพณี อันพระภิกษุผู้อยู่ร่วมกันครบพรรษากาลเหล่านี้ จะได้กล่าวปวารณา หรือเปิดโอกาสให้กันและกัน บอกกล่าว ตักเตือน ในสิ่งที่บกพร่องพึงปรับปรุงแก้ไข พิธีอันสำคัญนี้เป็นพระพุทธานุญาต เพื่อพระภิกษุสงฆ์จะได้เป็นผู้งดงามเรียบร้อยด้วยพระธรรมวินัย เป็นศาสนทายาทผู้เจริญยิ่งด้วยสามัคคีธรรม มีความบริสุทธิ์บริบูรณ์ สมฐานะแห่งทักขิไณยบุคคล

     ปวารณาคืออะไร

     “ปวารณา” โดยรูปศัพท์ แปลว่า ยอมให้ขอ เปิดโอกาสให้ขอหรือยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน

     ส่วนคำว่า “ปวารณา” ที่มุ่งหมายในที่นี้ หมายถึง การที่ภิกษุเปิดโอกาสให้ภิกษุอื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองได้ ซึ่งจัดเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง ที่พระภิกษุสงฆ์จะต้องทำร่วมกันในวันสุดท้ายของการอยู่จำพรรษา คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (สำหรับผู้เข้าจำพรรษาในพรรษาหลัง)

       วิธีปวารณา

     ผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุ ตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไปทำปวารณาร่วมกัน โดยเมื่อถึงวันมหาปวารณา ให้ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน แสดงอาบัติต่อกันแล้ว ให้ภิกษุรูปหนึ่งสวดประกาศตั้งญัตติ(การประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจร่วมกัน)ให้สงฆ์ทำปวารณาโดยเริ่มต้นจากภิกษุผู้มีพรรษามากไปจนถึงภิกษุผู้มีพรรษาน้อยที่สุดตามลำดับ

    ภิกษุผู้เถระมีพรรษามากกว่าทั้งหมดนั่งกระหย่ง1ประนมมือกล่าวปวารณาก่อน ๓ ครั้ง(โดยให้ภิกษุที่มีพรรษาอ่อนกว่าปวารณาทีหลัง) ว่า

    “ท่านทั้งหลาย (“ท่านผู้เจริญ” ใช้สำหรับภิกษุผู้มีพรรษาอ่อนกว่ากล่าวกับพระภิกษุผู้มีพรรษามากกว่า) กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัย (ว่ากระผมทำผิด) ก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผมเมื่อกระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไป
   ในระหว่างการปวารณา ทุกรูปต้องนั่งกระหย่ง รูปไหนปวารณาเสร็จแล้วจึงจะนั่งบนอาสนะได้

      วันทำปวารณา

     ต่อมา ภิกษุทั้งหลายสงสัยว่า วันปวารณามีกี่วัน จึงนำเรื่องไปกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงรับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลายวันปวารณานี้มี ๒ วัน คือ วันขึ้น ๑๔ ค่ำ และวันขึ้น ๑๕ ค่ำ

        อาการในการทำปวารณา


     ต่อมา ภิกษุทั้งหลายเกิดสงสัยอีกว่า อาการทำปวารณามีเท่าไร จึงนำเรื่องไปกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงรับสั่งว่า การทำปวารณามี ๔ อย่าง คือ แยกพวกกันทำปวารณาโดยไม่ชอบธรรม พร้อมเพรียงกันทำปวารณาโดยไม่ชอบธรรม แยกพวกกันทำปวารณาโดยชอบธรรม และพร้อมเพรียงกันทำปวารณาโดยชอบธรรม ซึ่งพระองค์ทรงอนุญาตให้ทำปวารณาเฉพาะที่พร้อมเพรียงกันทำโดยชอบธรรมเท่านั้น

      พุทธานุญาตอื่นๆ

      ภายหลังมีภิกษุบางรูปไม่สบาย ไม่สามารถมาร่วมทำปวารณาได้ จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่สบายนั้นใช้ให้ภิกษุอื่นทำปวารณาแทนตนได้
       ต่อมาภิกษุเกิดสงสัยอีกว่า หากมีภิกษุไม่ถึง ๕ รูป ควรทำปวารณากันอย่างไร พระพุทธองค์จึงมีพระบรมพุทธานุญาต ให้อาวาสที่มีภิกษุอยู่เพียง ๔ รูป ๓ รูป หรือ ๒ รูป ทำปวารณากันเองเป็นคณะ และหากมีเพียงรูปเดียว ให้อธิษฐานเป็นส่วนบุคคล คือ ตั้งใจว่า วันนี้เป็นวันมหาปวารณาของเราและหากมีเหตุจำเป็นบางประการ ที่จะทำปวารณา ๓ ครั้งไม่ได้เช่น เมื่อมีเหตุอันตรายหรือความไม่สะดวกอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๑๐อย่างเกิดขึ้นคือ
๑.พระราชาเสด็จมา
๒.โจรมาปล้น
๓.ไฟไหม้
๔.น้ำหลากมา
๕.คนมามาก
๖.ผีเข้าสิงภิกษุ
๗.สัตว์ร้ายเข้ามา
๘.งูร้ายเลื้อยเข้ามา
๙.ภิกษุจะถึงแก่ชีวิต
๑๐.มีอันตรายต่อพรหมจรรย์                                                                                                                 
       เมื่อประสบเหตุประการใดประการหนึ่งดังกล่าวทรงผ่อนผันให้ปวารณาเพียง ๒ ครั้ง ครั้งเดียว หรือให้ภิกษุที่มีพรรษาเท่ากันปวารณาพร้อมกันได้ นอกจากนี้ หากภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาร่วมกันด้วยความผาสุก แต่เกรงว่าเมื่อเสร็จจากปวารณาแล้ว อาจมีภิกษุบางรูปต้องเดินทางจากไป จนเป็นเหตุให้ไม่ได้รับความผาสุกในธรรมเหมือนเช่นเคย เพื่ออนุเคราะห์แก่ภิกษุเหล่านั้น จึงทรงอนุญาตให้เลื่อนวันปวารณาออกไปได้อีก ๑ เดือน

        พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการปวารณา

     แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเอง ยังทรงให้ความสำคัญกับการปวารณาเป็นอย่างมาก ดังเช่นในสมัยที่พระองค์ประทับอยู่ท่ามกลางพระอรหันตสาวกหมู่ใหญ่๕๐รูป พระวิหารบุพพาราม               
      วันนั้น เป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ ทรงรับสั่งกับภิกษุทั่งหลายว่า “บัดนี้เราขอปวารณาต่อเธอทั้งหลาย พวกเธอจะไม่ติเตือน กรรมอะไรๆ ที่เป็นไปทางกายหรือทางวาจาของเราบ้างหรือ”                                                         
         เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายติเตียนกรรมใดๆ อันเป็นไปทางพระกายหรือทางพระวาจาของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้เลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่าพระองค์ทรงยังทางที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงยังทางที่ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ให้เกิดขึ้นพร้อม ทรงบอกทางที่ยังไม่มีผู้บอก เป็นผู้ทรงรู้ทาง ทรงรู้แจ้งทาง ทรงฉลาดในทาง
     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญสาวกทั้งหลายในบัดนี้เป็นผู้เดินตามทาง
     ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตร พร้อมทั้งภิกษุทั้ง ๕๐ รูป จึงได้ปวารณาต่อพระผู้มีพระภาคเช่นเดียวกัน ซึ่งพระองค์ก็ไม่ทรงเห็นการกระทำใดๆ ทั้งทางกายวาจาของพระอรหันต์เหล่านั้น ที่จะทรงติเตียนได้เช่นกันสาวก สันนิบาต สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์อื่นๆ ก็ยังทรงอาศัยโอกาสแห่งวันปวารณานี้ เพื่อประชุมพระสาวก (สาวกสันนิบาต) อีกด้วย ดังเช่น พระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปวารณาพรรษาพร้อมด้วยภิกษุ ๙๐,๐๐๐โกฎิ ณ ภูเขาสุทัสสนะ ในการประชุมพระสาวก ครั้งที่ ๓    
     พระสุมนพุทธเจ้าก็ทรงปวารณาพรรษาพร้อมด้วยภิกษุอรหันต์ขีณาสพ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ในการประชุมพระสาวกครั้งที่ ๑                                                                                                                                
     พระโสภิตะพุทธเจ้า ก็ทรงปวารณาพรรษา พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๘๐ โกฏิ ในการประชุมพระสาวกครั้งที่๓
     พระปทุมพุทธเจ้าทรงปวารณาเป็นวิสุทธิปวารณากับผู้บวชใหม่และภิกษุอื่นๆ จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ โกฏิ ในการประชุมพระสาวก ครั้งที่ ๒ และทรงปวารณาออกพรรษา พร้อมกับภิกษุผู้บวชด้วยเอหิภิกขุ จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ โกฏิ ในการประชุมสาวกครั้งที่๓
    พระธัมมทัสสีพุทธเจ้าทรงทำวิสุทธิปวารณาท่ามกลางภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ซึ่งบวชภายในพรรษานั้น ณ กรุงสรณะ ในการประชุมพระสาวก ครั้งที่ ๑

      ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย


    ในทางปฏิบัติแม้ภิกษุบางรูปจะได้ปวารณาให้สหธรรมิกว่ากล่าวตักเตือนตนเองได้แล้วก็ตาม แต่หากภิกษุนั้นเป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทนต่อคำพร่ำสอน ก็คงไม่มีใครกล้าแนะนำ หรือตักเตือนอยู่นั่นเอง ทำให้ภิกษุนั้นเสียโอกาสที่จะได้แก้ไขพัฒนาตนเอง ให้ก้าวหน้าในพระธรรมวินัยไปอย่างน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง     
    ในทางกลับกัน หากภิกษุใดเป็นผู้ว่าง่าย อดทนต่อคำสั่งสอน แม้จะไม่ได้ปวารณาไว้ แต่เพราะความว่าง่าย ย่อมทำให้ เพื่อนภิกษุทั้งหลายอยากแนะนำพร่ำสอนในสิ่งที่เป็นประโยชน์     ดังนั้น ภิกษุผู้หวังความเจริญในพระพุทธศาสนานี้ จึงควรประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่ายเหล่านี้ คือ      
1.ไม่มีความปรารถนาลามก ไม่ลุแก่อำนาจแห่งความปรารถนาลามก
2.ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
3.ไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ถูกครอบงำด้วยความโกรธ
4.ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ
5.ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ
6.ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ
7.เมื่อถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ก็ไม่ได้เถียงโจทก์
8.เมื่อถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ก็รุกรานโจทก์
9.เมื่อถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ก็ไม่ปรักปรำโจทก์
10.เมื่อถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ก็ไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ
11.เมื่อถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ก็พอใจตอบในความประพฤติของตน
12.ไม่เป็นคนลบหลู่ ไม่ตีเสมอ
13.ไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่
14.ไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่เจ้ามายา
15.ไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น
16.ไม่เป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น เมื่อรู้ว่าตนกระทำผิดก็ยอมรับได้ง่าย


      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับ “การปวารณา”เป็นอย่างมาก เนื่องจากทรงเห็นว่า “การปวารณา”จะเป็นประโยนช์ และเป็นโอกาสแก่ภิกษุที่อยู่จำพรรษาร่วมกัน จะได้ชี้ขุมทรัพย์ คือ การว่ากล่าวแนะนำในสิ่งที่เป็นประโยนช์ต่อการพัฒนาคุณธรรมความดีงามให้แก่กัน ที้งนี้เพื่อความสะอาดหมดจดแห่งพรหมจรรย์ และเพื่อความสำรวมระวังทั้งกาย วาจา ใจ สืบไป
      ขุมทรัพย์จากการปวารณา จึงเป็นเหตุเกื้อกูลให้พระภิกษุสามารถฝึกฝนอบรมตนเองให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า ในพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างรวดเร็ว สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นอายุของพระพุทธศาสนา

ขอบคุณข้อมูลจาก : DMC.TV , https://goo.gl/S99syz

วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

กำเนิดวันมหาปวารณา



กำเนิดวันมหาปวารณา
         วันมหาปวารณาถือเป็นวันสำคัญวันของพระภิกษุสงฆ์วันหนึ่งก็ว่าได้ เพราะเป็นวันที่พระภิกษุจะได้มีโอกาสว่ากล่าวตัดเตือนกันได้ถือเป็นมิตรชี้ประโยนช์ให้แก่และกัน
 จุดเริ่มต้นของวันมหาปวารณาเกิดเนื่องด้วยสาเหตุใดนั้นผู้เขียนได้ไปค้นข้อมูลมาให้ทุกท่านได้ทราบกันดังนี้
  ครั้งหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี มีภิกษุหลายรูปซึ่งรู้จักและคุ้นเคยกันมาก่อน ได้มาอยู่จำพรรษาร่วมกันในอาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันว่า ด้วยวิธีการอย่างไรหนอ พวกเราจึงจะอยู่จำพรรษาร่วมกันด้วยความผาสุก มีความสามัคคีปรองดอง  ไม่ทะเลาะวิวาทกันและไม่ต้องลำบากเรื่องอาหารบิณฑบาต

        ครั้นแล้วได้ปรึกษากันต่อไปว่า หากพวกเราจะไม่ทักทายปราศรัย พูดคุยซึ่งกันและกัน รูปใดบิณฑบาตกลับมาถึงก่อน ให้รูปนั้นปูอาสนะ จัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งวางรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเตรียมตั้งไว้ จัดตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ส่วนรูปใดบิณฑบาตกลับมาทีหลัง หากอาหารที่รูปก่อนฉันแล้ว ยังมีเหลือ ถ้าต้องการฉันก็พึงฉัน ถ้าไม่ต้องการก็ให้เททิ้งหรือล้างเสียให้เรียบร้อย แล้วจึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งวางรองเท้ากระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้ เก็บน้ำฉันน้ำใช้ กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หม้อน้ำชำระว่างเปล่า ก็ให้จัดหาไว้ หากเกินกำลังที่จะทำได้เพียงลำพัง ให้กวักมือเรียกเพื่อนมาช่วยเหลือกัน แต่อย่าเปล่งเสียงเรียกให้เพื่อนมาช่วยเลย ด้วยวิธีการอย่างนี้แหละ พวกเราจึงจะอยู่จำพรรษาร่วมกันด้วยความผาสุก มีความสามัคคีปรองดอง ไม่ทะเลาะวิวาทกัน และไม่ต้องลำบากเรื่องภัตตาหาร ครั้นแล้วภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นจึงได้อยู่จำพรรษาร่วมกันตามวิธีนี้จนตลอด ๓ เดือน


ภายหลังออกพรรษาแล้ว เป็นธรรมเนียมว่า ภิกษุจะต้องเดินทางไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาครบไตรมาสแล้ว จึงเดินทางไปสู่พระเชตวันเพื่อเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อถวายบังคม และได้นั่งในที่อันสมควรแก่ตนแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า อยู่จำพรรษาร่วมกันด้วยความผาสุกหรือไม่ ภิกษุเหล่านั้น แม้จำพรรษาร่วมกันอย่างไม่มีความสุขก็ยังกราบทูลว่า พวกตนอยู่จำพรรษาร่วมกันด้วยความผาสุก
      พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามถึงวิธีการที่ใช้ในการอยู่ร่วมกันนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ ทรงติเตือน และห้ามประพฤติตามอย่างเดียรถีย์ ครั้นทรงทราบแล้วจึงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
     ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าโมฆบุรุษ พวกนี้แม้อยู่จำพรรษาอย่างไม่มีความผาสุกเลย ก็ยังยืนยันว่าอยู่กันด้วยความผาสุก ทราบว่าโมฆบุรุษพวกนี้อยู่จำพรรษากันอย่างกับพวกสัตว์เลี้ยงอยู่ร่วมกัน (อยู่โดยไม่มีการถามสุขทุกข์ของกันและกัน) อย่างแพะอยู่ร่วมกัน อย่างคนประมาทอยู่ร่วมกันแท้ ๆ ยังยืนยันอีกว่า อยู่จำพรรษาด้วยความผาสุก
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุไฉนโมฆบุรุษพวกนี้จึงได้ถือมูควัตร (ข้อปฏิบัติอย่างคนใบ้) ซึ่งพวกเดียรถีย์ถือกัน การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น ไม่เป็นที่น่าเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสฯ
     ครั้นแล้วทรงแสดงธรรมิกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
      “ภิกษุไม่พึงสมาทานมูควัตรที่พวกเดียรถีย์สมาทานกัน รูปใดสมาทาน ต้องอาบัติทุกกฎ”

ทรงอนุญาตการปวารณา
      ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาแล้ว ปวารณาต่อกันด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ฟัง หรือด้วยนึกสงสัย (ว่าได้ทำความผิดทางกาย ทางวาจา) อันเป็นวิธีที่เหมาะสมเพื่อการว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน ทั้งเป็นวิธีออกจากอาบัติ และเป็นวิธีเคารพในพระวินัยของภิกษุทั้งหลายสืบ  
                                                               
ขอบคุณข้อมูลจาก:ภาพและข้อมูลจาก DMC  
https://goo.gl/nEHtyj

https://mamoketio.blogspot.com/2017/10/dmc-httpsgoo.html