วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

กำเนิดวันมหาปวารณา



กำเนิดวันมหาปวารณา
         วันมหาปวารณาถือเป็นวันสำคัญวันของพระภิกษุสงฆ์วันหนึ่งก็ว่าได้ เพราะเป็นวันที่พระภิกษุจะได้มีโอกาสว่ากล่าวตัดเตือนกันได้ถือเป็นมิตรชี้ประโยนช์ให้แก่และกัน
 จุดเริ่มต้นของวันมหาปวารณาเกิดเนื่องด้วยสาเหตุใดนั้นผู้เขียนได้ไปค้นข้อมูลมาให้ทุกท่านได้ทราบกันดังนี้
  ครั้งหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี มีภิกษุหลายรูปซึ่งรู้จักและคุ้นเคยกันมาก่อน ได้มาอยู่จำพรรษาร่วมกันในอาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันว่า ด้วยวิธีการอย่างไรหนอ พวกเราจึงจะอยู่จำพรรษาร่วมกันด้วยความผาสุก มีความสามัคคีปรองดอง  ไม่ทะเลาะวิวาทกันและไม่ต้องลำบากเรื่องอาหารบิณฑบาต

        ครั้นแล้วได้ปรึกษากันต่อไปว่า หากพวกเราจะไม่ทักทายปราศรัย พูดคุยซึ่งกันและกัน รูปใดบิณฑบาตกลับมาถึงก่อน ให้รูปนั้นปูอาสนะ จัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งวางรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเตรียมตั้งไว้ จัดตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ส่วนรูปใดบิณฑบาตกลับมาทีหลัง หากอาหารที่รูปก่อนฉันแล้ว ยังมีเหลือ ถ้าต้องการฉันก็พึงฉัน ถ้าไม่ต้องการก็ให้เททิ้งหรือล้างเสียให้เรียบร้อย แล้วจึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งวางรองเท้ากระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้ เก็บน้ำฉันน้ำใช้ กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หม้อน้ำชำระว่างเปล่า ก็ให้จัดหาไว้ หากเกินกำลังที่จะทำได้เพียงลำพัง ให้กวักมือเรียกเพื่อนมาช่วยเหลือกัน แต่อย่าเปล่งเสียงเรียกให้เพื่อนมาช่วยเลย ด้วยวิธีการอย่างนี้แหละ พวกเราจึงจะอยู่จำพรรษาร่วมกันด้วยความผาสุก มีความสามัคคีปรองดอง ไม่ทะเลาะวิวาทกัน และไม่ต้องลำบากเรื่องภัตตาหาร ครั้นแล้วภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นจึงได้อยู่จำพรรษาร่วมกันตามวิธีนี้จนตลอด ๓ เดือน


ภายหลังออกพรรษาแล้ว เป็นธรรมเนียมว่า ภิกษุจะต้องเดินทางไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาครบไตรมาสแล้ว จึงเดินทางไปสู่พระเชตวันเพื่อเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อถวายบังคม และได้นั่งในที่อันสมควรแก่ตนแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า อยู่จำพรรษาร่วมกันด้วยความผาสุกหรือไม่ ภิกษุเหล่านั้น แม้จำพรรษาร่วมกันอย่างไม่มีความสุขก็ยังกราบทูลว่า พวกตนอยู่จำพรรษาร่วมกันด้วยความผาสุก
      พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามถึงวิธีการที่ใช้ในการอยู่ร่วมกันนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ ทรงติเตือน และห้ามประพฤติตามอย่างเดียรถีย์ ครั้นทรงทราบแล้วจึงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
     ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าโมฆบุรุษ พวกนี้แม้อยู่จำพรรษาอย่างไม่มีความผาสุกเลย ก็ยังยืนยันว่าอยู่กันด้วยความผาสุก ทราบว่าโมฆบุรุษพวกนี้อยู่จำพรรษากันอย่างกับพวกสัตว์เลี้ยงอยู่ร่วมกัน (อยู่โดยไม่มีการถามสุขทุกข์ของกันและกัน) อย่างแพะอยู่ร่วมกัน อย่างคนประมาทอยู่ร่วมกันแท้ ๆ ยังยืนยันอีกว่า อยู่จำพรรษาด้วยความผาสุก
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุไฉนโมฆบุรุษพวกนี้จึงได้ถือมูควัตร (ข้อปฏิบัติอย่างคนใบ้) ซึ่งพวกเดียรถีย์ถือกัน การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น ไม่เป็นที่น่าเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสฯ
     ครั้นแล้วทรงแสดงธรรมิกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
      “ภิกษุไม่พึงสมาทานมูควัตรที่พวกเดียรถีย์สมาทานกัน รูปใดสมาทาน ต้องอาบัติทุกกฎ”

ทรงอนุญาตการปวารณา
      ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาแล้ว ปวารณาต่อกันด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ฟัง หรือด้วยนึกสงสัย (ว่าได้ทำความผิดทางกาย ทางวาจา) อันเป็นวิธีที่เหมาะสมเพื่อการว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน ทั้งเป็นวิธีออกจากอาบัติ และเป็นวิธีเคารพในพระวินัยของภิกษุทั้งหลายสืบ  
                                                               
ขอบคุณข้อมูลจาก:ภาพและข้อมูลจาก DMC  
https://goo.gl/nEHtyj

https://mamoketio.blogspot.com/2017/10/dmc-httpsgoo.html

7 ความคิดเห็น:

  1. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลมี ๒ จำพวกนี้ คือ
    ๑) ผู้ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ
    ๒) ผู้ไม่รับตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลมี ๒ จำพวกนี้แล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตมี ๒ จำพวกนี้ คือ
    ๑) ผู้เห็นโทษโดยความเป็นโทษ
    ๒) ผู้รับตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตมี ๒ จำพวกนี้แล

    ตอบลบ
  2. สาธุ สาธุ สาธุ ครับ

    ตอบลบ
  3. พระองค์ทรงอนุญาตให้มีการปวารณา อันเป็นเหตุให้สงฆ์อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข สาธุ

    ตอบลบ