วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560

สามัคคีคืออะไร ตอนที่ 2

สามัคคีคืออะไร ตอนที่ 2                                                                           
 จากตอนที่แล้วเราได้พูดถึงเรื่องความหมายของความสามัคคีและความสามัคคีมีความเกี่ยวโยงกันในทางพระพุทธศาสนาอย่างไร หลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่นำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรามีอะไรบ้างกันไปแล้ว ก็พอที่จะเข้าใจกันพอสังเขปแล้วนะครับ สำหรับวันนี้เราก็มาว่ากันต่อในเรื่อง                                                           
 "การที่จะปลุกฝังคนให้มาเข้าใจในเรื่องความสามัคคีได้นั้นเราจะเริ่มต้นกันจากที่ไหนเป็นอันดับแรก"

การที่จะปลุกฝังให้คนเข้าใจในเรื่องความสามัคคีอย่างแท้จริงได้นั้นจะต้องเริ่มปลุกฝังกันตั้งแต่จุดเล็กๆโดยเริ่มจากสถาบันครอบครัวก่อนเป็นอันดับแรก เพราะสถาบันครอบครัวเป็นที่แรกที่คนได้มาอยู่รวมกันแม้จะไม่เยอะแต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการที่อยู่รวมกัน ดังนั้นเด็กควรที่จะได้รับการเรียนรู้จากการอยู่ร่วมกันจากสมาชิกในครอบครัวก่อน ก่อนที่จะขยับเลื่อนไปเป็นการอยู่ร่วมกันกับคนหมู่มากนั่นก็คือชุมชน สังคม และประเทศ 
  โดยพ่อแม่จะต้องฝึกให้เด็กยอมรับที่จะเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่นเมื่อเด็กได้รับการเรียนรู้และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสมาชิกในครอบครัวได้แล้วเด็กก็จะสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข สิ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันของคนในครอบครัวนั้นก็คือการอยู่ด้วยกันร่วมกันด้วยความรักความสามัคคี ความเข้าใจ การให้อภัย รู้จักรักษาน้ำใจซึ่งกันและกัน มีความเคารพต่อกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของกัน รู้บทบาทหน้าที่ของตัวเอง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และเมื่อเด็กเข้าสู่สังคมที่ใหญ่ขึ้นและกว้างขึ้น เด็กเหล่านั้นก็จะสามารถปรับตัวให้เข้าสังคมนั้นๆได้ ทำให้เด็กเข้าใจคนอื่นได้มากขึ้น อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ รู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน ให้เคารพซึ่งกันและกัน ยอมรับความแตกต่างของกันและกัน และเห็นคุณค่าของกันและกัน 
  แม้ว่าบางครั้งมันอาจจะมีอะไรที่ทำให้เขารู้สึกไม่พอใจหรือไม่ชอบใจแต่อย่างน้อยก็ไม่เบียดเบียนกัน ทุกคนสามารถให้ความไว้วางใจกัน ไม่ต้องคอยระแวงกัน รู้สึกปลอดภัยที่จะอยู่ร่วมกัน สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นหลักประกันได้ว่าเด็กจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสงบสุขในชุมชนหรือสังคม   นั้นๆ
  เด็กจะอยู่กันอย่างราบรื่นกลมกลืนกับผู้อื่นได้ ก็ต่อเมื่อเด็กเชื่อมั่นในความดี หรือเห็นว่า ความสามัคคี การเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันเป็นสิ่งที่ดีงาม สามารถสมานน้ำใจผู้อื่นได้ และจะนำไปสู่การร่วมมือเพื่อก่อประโยชน์แก่ทุกฝ่าย แต่หากเด็กไม่มีความคิดดังกล่าว หรือมีความคิดในทางตรงข้ามว่า การแตกความสามัคคี การคดโกง เอาเปรียบเบียดเบียนกันไม่ใช่เรื่องเสียหายหรือเป็นเรื่องธรรมดาที่ใครๆก็ทำกัน แบบนี้ในที่สุดชีวิตเด็กก็ยากที่จะอยู่ร่วมกับหมู่คณะได้ ซึ่งอาจจะก่อนให้เกิดปัญหาหรือความเดือดร้อนอื่นๆตามมาอีกมากมาย เช่นทำให้ไม่เป็นที่รักหรือไว้วางใจจากผู้อื่น ซึ่งเด็กเหล่านี้ก็จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ยาก พ่อแม่หรือผู้ปกครองจึงเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญที่จะช่วยในการปลุกฝังบุคคลเหล่านี้ให้รู้จักความสามัคคีและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นหรือหมู่คณะอย่างสงบสุขได้  ดังนั้นพ่อแม่หรือผู้ปกครองจึงจำเป็นต้องปลูกฝังคุณธรรมและศีลธรรมให้กับเด็กตั้งแต่เล็กๆ เพื่อให้เขาได้เรียนรู้และมองเห็นคุณค่าของการมีศีลธรรมและจริยธรรมในด้านต่างๆ และนำไปสู่การมีทัศนคติที่ดี ค่านิยม ความเชื่อ และพฤติกรรมที่ดีงามตามไปด้วย                                                  
 สิ่งที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรที่จะมีและสอนให้เด็กได้เรียนรู้และปฏิบัติตามนั้นมีดังต่อไปนี้                                                                    
  1.พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกได้  ความสามัคคีเป็นเรื่องสำคัญ ความสุขของครอบครัวเริ่มต้นจากพ่อแม่ เมื่อพ่อแม่เคารพรักกัน เป็นคนดี มีความรัก ความเมตตาต่อลูก ทั้งการแสดงออกทางกาย ทางวาจา และทางใจ ที่ลูกสามารถสัมผัสได้ เป็นที่พึ่งได้ สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก ลูกก็มีความเคารพ ศรัทธา มีความเชื่อมั่น เชื่อฟังในสิ่งที่พ่อแม่สอน และเกิดความอยากจะประพฤติปฏิบัติตามพ่อแม่ โดยเห็นพ่อแม่เป็นต้นบุญต้นแบบให้กับลูก   
              
  2.พ่อแม่ควรหรือผู้ปกครองควรสอนเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลพ่อแม่ควรพูดคุยทำความเข้าใจให้ลูกทราบว่า ทุกคนมีความแตกต่างกัน ทั้งร่างกาย จิตใจ ความคิด ลักษณะอารมณ์ การแสดงออก ที่สำคัญคือ เราต้องตระหนักและเคารพให้เกียรติกันในเรื่องความแตกต่างเหล่านี้ ทั้งทางความคิดและการกระทำ ให้ความสำคัญกับทุกคน ทุกบทบาทหน้าที่ในสังคม พ่อแม่ต้องไม่เปรียบเทียบระหว่างเด็กด้วยกัน โดยหวังจะให้ลูกเราทำตัวดีขึ้น ซึ่งอาจไปส่งเสริมให้ลูกมีปมด้อยในภายหลังได้ พ่อแม่ต้องตระหนักและเคารพในความแตกต่างนี้ เพราะแท้จริงแล้วความแตกต่างระหว่างบุคคลต่างหากที่ทำให้โลกของเราน่าอยู่และน่าสนใจ                                                                          
 
   3.พ่อแม่ควรหรือผู้ปกครองควรสอนให้รู้จักการแก้ปัญหาเมื่อลูกมีปัญหาทะเลาะกับผู้อื่น ไม่เข้าใจกันระหว่างพี่น้อง หรือรู้สึกไม่พอใจใครก็ตาม เริ่มแรกคุณพ่อคุณแม่จงสอบถามสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วลองให้ลูกคิดเสนอวิธีแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง หากเห็นว่าเป็นวิธีที่ดี ก็ให้ลูกได้ลองทำอย่างนั้น แต่ถ้าลูกไม่อยากแก้ปัญหาหรือยังคิดไม่ออก พ่อแม่ควรแนะนำวิธีการที่เหมาะสม โดยชี้ให้เห็นผลดีผลเสียที่อาจเกิดขึ้น แต่ถ้าพบว่าลูกเอาแต่ใจตนเอง ไม่ยอมฟังเหตุผล พ่อแม่ควรเข้าใจถึงธรรมชาติของเด็กในวัยนี้ และคอยช่วยเหลือในการปรับพฤติกรรม ด้วยการอธิบายให้ลูกเข้าใจ พร้อมกับสร้างทัศนคติที่ดีให้กับลูกด้วยท่าทีที่นุ่มนวล อ่อนโยน ทั้งคำพูและการกระทำ                                                                                                          
 4.พ่อแม่ควรหรือผู้ปกครองควรสอนให้รู้จักการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นหรือส่วนรวมพ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกได้ทำความดี บำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม เริ่มจากความรับผิดชอบต่อกิจวัตรของตัวเอง การจัดเก็บของเข้าที่หลังจากหยิบมาใช้แล้ว หรือการทำความสะอาดต่างๆ การให้บริการผู้ใหญ่ในบ้าน ฯลฯ การทำความดีหรือบำเพ็ญประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ลูกเกิด “จิตอาสา” คือ จิตที่อยากทำความดีเพื่อผู้อื่น เป็นจิตที่มีอัตตาเล็กลง จึงเปิดรับความสุขได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งวัตถุ การทำความดียังช่วยให้ลูกได้เห็นว่ายังมีผู้อื่นที่ทุกข์ยากลำบากกว่าตน ทำให้ความทุกข์ของลูกกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยไป หรือทำให้ลูกคิดว่า เรายังโชคดีกว่าคนอื่นอีกมาก ขณะเดียวกันการเห็นคนทุกข์อยู่ตรงหน้า มิอาจทนนิ่งเฉยได้ต่อไป มิใช่เป็นคนเห็นแก่ตัว                                                                                               
 5.พ่อแม่ควรหรือผู้ปกครองควรสอนให้เด็กดำเนินชีวิตอย่างมีสติโดยการนำหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสอน อาจจะนำเรื่องง่ายๆที่เด็กฟังแล้วเข้าใจและสามารถแยกแยะว่าสิ่งใดทำได้สิ่งใดทำไม่ได้ สิ่งใดดีสิ่งใดไม่ดี สิ่งใดควรทำสิ่งใดไม่ควรทำ เด็กทุกคนจึงควรได้ฝึกตัวเองด้วยศีล ด้วยสมาธิ และเจริญสติให้ได้สัมผัสความสงบ ด้วยการสวดมนต์ นั่งสมาธิ แผ่เมตตา อย่างรู้ความหมายและประโยชน์ของสติ ฝึกให้เด็กๆ มีสติในการฟัง อ่าน คิด ถาม และเขียน ด้วยกิจกรรมการเคลื่อนไหวอย่างมีสติ ฝึกสมาธิเบื้องต้นด้วยการนับลมหายใจ เมื่อเด็กมีความสงบภายในแล้ว การที่จะดิ้นรนเพื่อที่จะแสวงหาความสุขนอกตัวก็น้อยลง แม้จะไม่หายไป แต่อย่างน้อยเขาก็สามารถควบคุมตัวเองภายในกรอบของศีลธรรม ไม่เบียดเบียนใคร ไม่สร้างความทุกข์ ความเดือดร้อนกับครอบครัว กับชุมชน ซึ่งเป็นผลมาจากความสงบที่เกิดขึ้นจากภายในจิตใจของเราเอง 

   ปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบันนี้ที่พบกันมาก ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว สังคมและระดับประเทศนั้น เกิดจากความไม่เข้าใจกันของคนในครอบครัว การเลี้ยงดูเด็กอย่างผิดวิธีหรือการปล่อยปะละเลยไม่สนใจเด็กเท่าที่ควร หรือเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เด็กเห็นต้นแบบที่ไม่ดีจากผู้ใหญ่แต่คิดว่าเป็นสิ่งที่ทำได้จึงลอกเลียนแบบเพราะไม่รับคำแนะนำหรือคำปรึกษาจากต้นแบบที่ดีๆ ทำให้เด็กซึ่งยังไม่สามารถที่จะคิดหรือตัดสินใจได้ด้วยตัวเองพอเห็นผู้ใหญ่ทำก็คิดว่าสามารถทำได้ก็ทำตาม จึงทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา                                                     

    ดังนั้นการที่จะขจัดทุกข์และสร้างสุขให้เกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยพ่อแม่หรือผู้ปกครอง ปลูกฝังให้เด็กคิดถึงผู้อื่นมากกว่าตัวเอง เพราะการคิดถึงแต่ตัวเอง ทำให้จิตใจคับแคบ  ทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันได้ง่ายหรือมองเห็นแต่ความทุกข์ของตัวเอง หาความสุขได้ยาก เพราะเป็นคนเห็นแก่ได้ ไม่รู้จักพอ  ในทางตรงข้าม การคิดถึงผู้อื่น ช่วยให้เราเห็นความทุกข์ของตนเองเป็นเรื่องเล็กน้อย ยิ่งช่วยผู้อื่นมากเท่าไร ก็ยิ่งมีความสุข เพราะได้เห็นผู้อื่นมีความสุขด้วย เพราะเราไม่อาจอยู่คนเดียวในโลกนี้ แต่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่น การช่วยให้ผู้อื่นมีความสุข ก็ย่อมทำให้เรามีความสุขด้วย และยิ่งมีความเห็นแก่ตัวน้อยลงเพียงใด ก็ยิ่งมีความสุขเพิ่มขึ้นเพียงนั้น จิตที่พร้อมจะให้ จิตคิดที่จะให้ จิตพอใจที่จะให้ ยินดีที่จะช่วย ยินดีที่จะให้ เป็นคุณธรรมที่ทำให้มีความสุข เกิดความสมานสามัคคี ความรัก ความอบอุ่นต่อกันและกัน

  การปลูกฝังให้เด็กมีความเป็นห่วงต่อเพื่อนมนุษย์ มีความเป็นห่วงต่อสิ่งแวดล้อม มีความเป็นห่วงต่ออนาคตของสังคม ของประเทศชาติ มีความคิดที่จะเสียสละเพื่อส่วนรวม นั้นเมื่อเด็กทำได้จะเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจให้แก่เด็ก ที่เขาสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นได้ และมีความเคารพนับถือตัวเอง มีความสุข มีความรัก ความสามัคคี มีจิตใจดีงามเป็นบุญเป็นกุศลเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี                                    
  สิ่งที่ได้รับจากความสามัคคีนั้นมีมากมายเพราะความสามัคคีนั้นเป็นบ่อเกิดแห่งความสุข ความเจริญ และความสำเร็จในหน้าที่การงานหรือในกิจกรรมต่างๆที่ทำร่วมกัน เพราะมนุษย์เราจะอยู่คนเดียวโดยไม่มีหมู่คณะนั้นไม่ได้ บางครั้งงานบางอย่างก็ต้องอาศัยหมู่คณะในการทำให้งานนั้นจึงจะสำเร็จได้ เพราะงานบางอย่างมันเกินกำลังที่คน คนเดียวจะทำได้ต้องอาศัยความสามัคคี การร่วมแรงร่วมใจกันจึงจะเกิดเป็น



ขอบคุณภาพประกอบต่างๆ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น