วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การอธิษฐานจิตดีอย่างไร

การอธิษฐานจิตถือว่าเป็นอธิษฐานบารมีซึ่งเป็นหนึ่งในการบำเพ็ญบารมี10ทัศ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในพระไตรปิฎกอรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค๑. พุทธาปทาน หน้าต่างที่ ๓ / ๑๑.
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านจงบำเพ็ญแม้อธิษฐานบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานที่ได้อธิษฐานไว้. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาภูเขาถูกลมพัดในทิศทั้งปวง ไม่หวั่นไหว ไม่เขยื้อน คงตั้งอยู่ในที่ของตนฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่หวั่นไหวในการอธิษฐานคือการตั้งใจมั่นของตน จักได้เป็นพระพุทธเจ้า.
ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานซึ่งอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ กระทำให้มั่นแล้ว.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
"ก็พุทธธรรมทั้งหลายจักไม่พึงมีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือก เฟ้นธรรมแม้ข้ออื่นๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ 
ในคราวนั้นเราเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงสมาทานอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ นี้ 
กระทำให้มั่นก่อน ท่านจงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้น จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้
ภูเขาหินไม่หวั่นไหว คงตั้งอยู่ตามเดิม ไม่สะเทือนเพราะลมแรงกล้า คงตั้งอยู่ในที่ของตนเอง แม้ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานในกาลทั้งปวง ถึงความเป็นอธิษฐานบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ "
ดังนั้นนอกจากจะทำบุญแล้วการอธิษฐานจิตกำกับได้ด้วยถือเป็นการตอกย้ำเป้าหมายและมโนปณิธานของเราเพื่อไปให้ถึงสิ่งที่เราได้คาดหมายไว้ ดังนั้นการอธิษฐานจิตจึงไม่ใช่เป็นเรื่องงมงายอย่างที่ใครหลายๆคนเข้าใจกัน แต่เป็นการตอกย้ำเป้าหมายของเราในการที่จะทำสิ่งนั้นให้ได้ เพื่อเป็นผังสำเร็จในการดำเนินชีวิตและประกอบหน้าที่การงานของเราสืบไป
ข้อมูลจาก:พระไตรปิฎกอรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค๑. พุทธาปทาน หน้าต่างที่ ๓ / ๑๑.
วิดีโอ:เผือกสีขาว https://www.facebook.com/whitesaranae/videos/310466016094982/

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น